ความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรมเทคโนโลยี
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ
นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ
นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว
มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า
นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ
การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)
ส่วนคำว่า "นวกรรม"
ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า
การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ
ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ
อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่
ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น
นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง
Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า
นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ
หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น
ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that
is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Everette
M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา
ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ
ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่
อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย
สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ
แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง
ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้
ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1 สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2
สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3
สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า
ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ
และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่
กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด
ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์
จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
หรือก็คือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change)
ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ
สังคม" หรือจะกล่าวง่ายๆ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า
และมูลค่า การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม
ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ
มีประโยชน์ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จาก แนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรมเช่น ผลงานของ Joseph
Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมาก
ก็น่าจะเป็น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof.
Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion
of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 1962
ทั้งนี้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปีแล้ว โดยในช่วงทศวรรษที่ 1950
บรรดานักวิชาการต่างมองว่า
นวัตกรรมเป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้
นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผลลัพธ์ของการดำเนินงานของปัจเจกบุคคล
หากแต่เป็นผลของกระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา
(problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือ
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาทสำคัญอื่นๆ
มีได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ
กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน
เช่น การเรียนรู้โดยการใช้ (learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทำ
(learning by doing) การเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (learning
by sharing) ซึ่งมีได้ทั้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร
ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร
1.1
จุดกำเนิดนวัตกรรม
ในธุรกิจมาจาก 2 แหล่งหลักด้วยกันคือ (ที่มา:
คัดลอกมาจาก คิดไทยสไตล์โมเดิร์น ของ คุณดนัย เทียนพุฒ นสพ.บิซวีส)
แหล่งแรก
การคิดค้นภายในองค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของแนวคิดใหม่ในสินค้าและบริการ
โดยองค์กรมักจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (Research &
Development-R&D) ขึ้นภายในองค์กร และจัดหาผู้ที่มี
ความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่นำไปสู่ “มูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ” ขององค์กร
จะเห็นได้ว่า การเกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องนั้น
โดยทั่วไปมักมาจากการกระตุ้นนวัตกรรม
โดยการใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรทั้งหมดขององค์กรตื่นตัวสร้างความแปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ
แหล่งที่สอง การแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และรับนวัตกรรมจากภายนอก หรือ
นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ไม่จำเป็นว่าแนวคิดที่ดีจะต้องมาจากบุคลากรภายในกิจการแต่เพียงอย่างเดียว
โดยลักษณะคือ เปิดรับแนวคิดใหม่จากภายนอก จะทำให้แนวคิดใหม่ๆ
เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหลากหลายกว่า
รวมถึงอาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพัฒนาเองทั้งหมด
เนื่องจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
อาจจะกระจัดกระจายกันอยู่ในองค์กรต่างๆ เช่น
การจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) เลือกจ้างหน่วยงานภายนอก
ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า หรืออาจจะร่วมมือในเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความพร้อมและบุคลากรในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ
เพื่อร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมจากความถนัดของทั้งคู่ เป็นต้น ดังนั้น
จึงเกิดแนวคิดการนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้มากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้กิจการสร้างความแปลกใหม่ในการผลิตและการดำเนินงาน
โดยไม่ถูกจำกัดแนวคิดหรือความเชี่ยวชาญอยู่เฉพาะภายในองค์กรอีกต่อไป
1.2 ความหมายของนวัตกรรม
คำว่า
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare
ในภาษาละติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ,
2547) ซึ่งในปัจจุบันความหมายได้ขยายออกไป
ไม่ใช่เป็นเพียงการทำสิ่งใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังมีความหมายรวมถึงการปรับปรุง
การพัฒนา การต่อยอด
เพื่อสร้างคุณค่าในเชิงพาณิชย์และเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคมได้ด้วย
คำว่า “นวัตกรรม”
เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้
เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate
แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน
จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
(Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ
หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร”
(Innovator)
“นวัตกรรม”
หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ
นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ
การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change)
ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph
Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
โทมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า
เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot
Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (บุญเกื้อ ควรหาเวช,
2542)
มอตัน (Morton, J.A.) ได้ให้นิยามของนวัตกรรมไว้ในหนังสือ
Organizing for Innovation ว่าหมายถึง
การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่
การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ
นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง
และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521)
ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ
ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ
ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520)
ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่
มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ
เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว
กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ
กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง
สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป
จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
"นวัตกรรม" คือ
สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
"นวัตกรรม" จึงถือเป็นกุญแจหลักที่จะผลักดันให้หน่วยเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น ความสามารถของประเทศในการสร้าง "แรงขับเคลื่อนนวัตกรรม"
จึงเป็นปัจจัยชี้ขาดอัตราการเจริญเติบโตและการปรับฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
“นวัตกรรม” หมายถึง
ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย
และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew
B.) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ในเรื่อง
Innovation in Education ว่า นวัตกรรม หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล
เนื่องจากได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านและกว้างขวาง ซึ่งอาจจะแยกความหมายของนวัตกรรมได้หลายมิติดังนี้
(พระมหาสุทิตย์ อาภากะโร (อบอุ่น), 2548)
1. ความหมายเชิงนามธรรมหรือความคิด นวัตกรรม
หมายถึงการคิดค้นทางสติปัญญาของมนุษย์ที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการสร้างแบบแผนการดำรงชีวิตที่อิสระจากพันธนาการทางความคิดและการหลุดพ้นไปจากความคุ้นเคยฝนวิถีการปฏิบัติแบบเดิม
ๆ เป็นชีวิตใหม่ที่มีการเรียนรู้และการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. ความหมายในเชิงการเสริมสร้างศักยภาพคน
นวัตกรรมหมายถึงแนวคิด หลักการและการค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
มาดำเนินการเพื่อให้คนและหมู่คณะเป็นบุคคลที่พึงประสงค์ มีความรู้ ความสามารถ
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สติปัญญาที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่และรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นวัตกรรมในการเสริมสร้างศักยภาพคน
จึงเริ่มต้นด้วยความเชื่อมั่นในพลังแห่งความคิดที่ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้
ฝึกฝนได้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
3. ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์
นวัตกรรมหมายถึงการนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส
และนำไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เน้นการสร้างสรรค์
การวิจัยและการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และการพัฒนาสังคม
4. ความหมายในเชิงการศึกษา
นวัตกรรมหมายถึงการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน
ช่วยประหยัดเวลาในการเรียน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ระบบคุณค่าและพฤติกรรม
เช่น การจัดห้องเรียนชุมชน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
สื่อหลายมิติและอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
5. ความหมายในเชิงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
นวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน
เป็นเรื่องของการเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กับเรื่องของสังคม
เศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงจากประดิษฐกรรมให้เป็นวัฒนธรรม
เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในสังคม
โดยจะต้องคำนึงถึงบริบทและสภาวะแวดล้อมที่นวัตกรรมนั้นเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
โดยนวัตกรรมนั้นสามารถคิดค้นและพัฒนามาจากประดิษฐกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือความคิดกระบวนการในศาสตร์อื่น
ๆ
6. ความหมายในนัยอื่น ๆ นวัตกรรมหมายถึง
ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดในด้านเวลาและแรงงาน
โดยเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ
เริ่มตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนา ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปแบบของโครงการนำร่อง
แล้วจึงนำไปสู่การปฏิบัติจริงที่มีความแตกต่างไปจากแบบแผนการปฏิบัติแบบเดิม ๆ ที่เคยปฏิบัติมา
หรืออาจจะเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ โดยนวัตกรรม
ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป
แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม
จากความหมายที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นอกจากนี้
คำว่านวัตกรรมยังสามารถถูกนิยามในความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทต่างๆ
ที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น นวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
นวัตกรรมทางการแพทย์
รวมทั้งนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นต้น
1.3 ลักษณะของนวัตกรรม
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ได้กล่าวถึงลักษณะร่วมของกิจกรรมหรือภารกิจที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมว่ามีอย่างน้อย 4 ลักษณะดังนี้
1. เป็นการเปิดพื้นที่ทางปัญญาและพื้นที่ทางสังคมให้กว้างขวางที่สุด
เนื่องจากการสร้างนวัตกรรมทางสังคมต้องใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์ที่ผ่านการสั่งสมและการรับรู้ของคนในสังคมร่วมกันทั้งสังคม
2. เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด
ร่วมสร้างของคนในสังคมหรือชุมชน ไม่ใช่เกิดจากการสั่งการจากภายนอก
เนื่องจากนวัตกรรมทางสังคมเกิดขึ้นในชีวิตจริงเพื่อรับใช้คนในสังคมตามสภาพในขณะนั้น
3. เกิดจิตสำนึกร่วมต่อสาธารณะ
และเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน
เนื่องจากการเกิดนวัตกรรมทางสังคมเป็นเรื่องของการหาวิธีการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนหลายคน
4. มีพัฒนาการที่ไม่เกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว
แต่อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบอันเป็นผลจากการคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น
และลงมือปฏิบัติที่ต่อเนื่องกันไปในระยะยาวไม่มีที่สิ้นสุด
1.4 ประเภทของนวัตกรรม
โดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product
innovation) คือตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถเห็นหรือจับต้องได้ เช่น หุ่นยนต์ช่วยทำงานในโรงงาน
พืช GMO เสื้อนาโน
เครื่อง Ipod ฯลฯ เป็นต้น
2. นวัตกรรมกระบวนการ (Process
innovation) คือเป็นกระบวนการทำงานที่มองไม่เห็น หรือจับต้องไม่ได้
แต่ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น การลดขั้นตอนการทำงาน
การประหยัดพลังงาน การสั่งซื้อสินค้าหรือการจองตั๋วโดยสารผ่านระบบออนไลน์ ฯลฯ
เป็นต้น
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น
การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational
Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง
3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันแนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน
แนว ความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้
4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม
ได้แก่โรงเรียนไม่แบ่งชั้นบทเรียนสำเร็จรูปการสอนเป็นคณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ชุดการเรียนการสอนศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา
นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้
ได้แก่ตารางเรียนแบบยืดหยุ่นมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร
ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น
ได้แก่ดาวเทียมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยเปิดการศึกษาทางไกลการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า
นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotechความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่
ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้
ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง
ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้
การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย
และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น
สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเส
นวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์
จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบ
ต่าง ๆ
นั้น คือ
นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเองความหมาย
คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ
หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม
โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
1. นวัตกรรมการเรียนการสอน
2.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration)
1. แนวคิด
เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด
ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง
ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้าเดล
ได้กล่าวไว้ดังนี้
2. ลักษณะสำคัญ
วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้
ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
3. วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น
ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ
และสามารถสรุปผลได้
4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น
ๆ ด้วยได้
ที่มาของนวัตกรรม
เมื่อมีผู้รับบริการที่สถานพยาบาลแต่ล่ะครั้งจะต้องค้นหา O P D card หรือ
บัตรบันทึกการรักษาพยาบาลของทุกคนออกมา
แล้วทำการลงบันทึกอาการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การรักษารวมทั้ง คำแนะนำในการปฏิบัติตัว รวมถึงการนัดหมาย ของแต่ล่ะบุคคลลง O P D card ก่อนที่นำข้อมูลลงไปคีย์ในคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
และ O P D card ของแต่ล่ะคนจะเก็บไว้ใน Folder
หรือแฟ้มครอบครัวของแต่ล่ะบ้านซึ่งจัดเก็บเรียงกันไปตามบ้านเลขที่
และหมู่ที่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เลขที่ ๑ – เลขที่สุดท้ายของแต่ล่ะหมู่
ซึ่งในแฟ้มแต่ล่ะบ้าน ประกอบด้วย บัตรอนามัยประจำครอบครัว แบบบันทึกการรักษา บัตรบันทึกสุขภาพ มารดา บัตรบันทึกสุขภาพเด็กแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
และอื่นๆ ในการหยิบบัตรการบันทึกการรักษาแต่ล่ะครั้งต้องค้นหาแฟ้มอนามัยครอบครัว
ที่เรียงไว้ตามลำดับบ้านเลขที่และหมู่
ถ้าเก็บแฟ้มผิดหมู่เช่น นำแฟ้มบ้าเลขที่ ๑
หมู่ ๑ ไปเก็บที่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๓ จะทำให้ เสียเวลาในการค้นหามาก หรือถ้าค้นไม่เจอจะต้องทำบัตร O P D card ทำให้บางคนมีบัตรซ้ำกัน
เพราะหาไม่พบจึงทำให้ไม่พบบัตรบันทึกการรักษา
นิยามศัพท์
นวัตกรรม หมายถึง นวัตกรรม“แยกสีคัดสรร
ป้องกันหยิบผิด”แฟ้ม
หมายถึง แฟ้มอนามัยครอบครัว
ปี หมายถึง ปีงบประมาณ รพ.สต. หมายถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การดำเนินงาน รพ.สต.เกาะเกิด จึงคิดจัดทำแถบสีเล็กๆ
ไว้ที่สันแฟ้มด้านล่างโดยใช้สีแยกแต่ล่ะหมู่ให้แตกต่างกัน
เพื่อเวลาเก็บแฟ้มผิดหมู่ทำให้เกิดความแตกต่าง ของแถบสีที่ติดไว้ ดังนี้คือ
วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
๑.เพื่อแยกแฟ้มของแต่ละหมู่บ้านให้เป็นหมวดหมู่ตามสีประจำหมู่ สังเกตง่าย
ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาในขณะการให้บริการ
๒.ป้องกันการจัดเก็บแฟ้มผิดหมู่บ้านซึ่งเป็นที่มาของเวชระเบียนสูญหายหรือสับสนได้
ขั้นตอนและกระบวนการทำงาน
กิจกรรมมาตรฐานปกติ
๑.เจ้าหน้าที่มีการประชุมเพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเก็บแฟ้มอนามัยครอบครัวผิดและการค้นไม่พบ
๒.วางแผนจัดทำรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาที่ค้นพบ
๓.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานให้ครบถ้วน
กิจกรรมก้าวหน้าเชิงพัฒนา
๑.มีการขอความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนานวัตกรรมจากบุคคลที่อยู่ในสถานะที่แตกต่างกัน เช่นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ผู้มารับบริการในการรักษา
หรือผู้มารับบริการด้านอื่นๆ
๒.ศึกษาผลของการดำเนินงานของนวัตกรรมว่าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่
๓.พัฒนาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานที่มีข้อบกพร่องเพื่อให้ได้ผลที่ดี
๔.ประเมินความพึงพอใจของผู้มารับบริการ
ผลจากการทำนวัตกรรม
การจัดทำนวัตกรรม “แยกสีคัดสรร ป้องกันหยิบผิด” ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเกิด มีวัตถุประสงค์เพื่อ
แยกแฟ้มอนามัยครอบครัวของแต่ละหมู่บ้านให้เป็นหมวดหมู่ตามสีประจำหมู่ สังเกตง่าย
ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาในขณะการให้บริการ
ป้องกันการจัดเก็บแฟ้มอนามัยครอบครัวผิดหมู่บ้านซึ่งเป็นที่มาของเวชระเบียนสูญหายหรือสับสน จากการดำเนินการแล้วพบว่า
๑.เวลาเฉลี่ยหลังทำนวัตกรรมใช้เวลาน้อยกว่าที่ยังไม่ได้ทำนวัตกรรมโดยคิดเป็นสัดส่วนในการใช้เวลา
๑ ใน ๓
๒.อัตราการเก็บแฟ้มผิดในช่วงเดือน ตุลาคม ถึง เดือน มีนาคม ในปี ๒๕๕๔
ลดลงจากปี ๒๕๕๒ และปี ๒๕๕๓ ในช่วงเดียวกันเป็นอย่างมาก โดยในปี ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ มีอัตราการเก็บแฟ้มผิดร้อยละ ๓.๑๒ และ
๓.๔๗ ตามลำดับ ในส่วนปี ๒๕๕๔ มีอัตราการเก็บแฟ้มผิดร้อยละ ๐.๙๕
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ
ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม
เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง
เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ
ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ความหมาย “ นวัตกรรมทางการศึกษา
”
จากความหมายของ “นวัตกรรมทางการศึกษา” ที่มีผู้ให้นิยามไว้สามารถสรุปได้ว่า “นวัตกรรมการศึกษา
”
คือการนำสิ่งใหม่ๆ
ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักการ
ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้
เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของ
การเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี
มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากว่าสิ่งใหม่นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็น
สิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี
โดยสรุปแล้ว
นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
3.
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด
เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology"
ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี
มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539
: 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ
"วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย
ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523
: 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม
คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง
อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81)
อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น
ๆ มาผสมผสานประยุกต์
เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ
มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ
เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่
และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม
หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531
: 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ
และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย
นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ
จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า
ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534
: 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง
วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม
หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จาก การที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย
สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย
ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530
: 67)
เทคโนโลยีมี 4
ระดับ ได้แก่
1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ
หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น
2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ
แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เป็นต้น
3. เทคโนโลยีระดับสูง
ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย
หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์
และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ เช่น
ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี
มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่
ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน
ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology"
ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี
มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า
"วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539
: 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ
วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม
คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง
อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า
เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์
เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ
มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ
เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่
และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม
เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม
หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า
เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง
โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย
นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ
จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า
ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น
ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม
หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย
สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ
มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า
หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530
: 67)
เทคโนโลยี
ความหมาย ของเทคโนโลยีเมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี
คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย
มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น
รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี”
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere :
การสาน (to weare) : การสร้าง (to
construct) ภาษากรีกTechnologia : การกระทำอย่างมีระบบ
(Systematic Treatment)เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด
ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ
บรรลุผล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ
ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process)
เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้
เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product)
หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต
(process and product) เช่น
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรมเทคโนโลยี
หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ
หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเองเทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ
เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ
ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น
เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ
สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไปเทคโนโลยีการศึกษา
ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่
เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง
ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์
เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น
ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ
มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้นเทคโนโลยีการศึกษา
คือ
การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน
มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา
มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์
รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม
และการศึกษาด้วยตนเอเทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้
เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้
เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟสกินเนอร์ (B.F Skinner)3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ
เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย เทคโนโลยีทางการศึกษา
หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด
กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้
ที่มาของเทคโนโลยี Fusion
- io : Flash Storage แบบง่าย
posted Nov 12, 2012,
12:53 AM by SoontriLapjongprasert [ updated Nov 13, 2012, 8:57 PM ]
ขออธิบายที่มาที่ไปเกี่ยวกับเทคโนโลยี Flash (Flash Memory หรือ Flash Storage ที่เรารู้จักในแง่ของ USB
Thumbdriveหรือที่จัดเก็บข้อมูลของ SmartPhoneรุ่นต่างๆ
ในปัจจุบัน เช่น iPhone 5 ที่มีความจุ 32GB, 64GB) ในรูปแบบ Infographicเป็น
Video Clip ที่อธิบายให้เข้าใจง่าย
โดยเนื้อเรื่องนั้นเล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้น และ ทิศทางในอนาคตของ Flash
Technology
Video Clip นี้ มีชื่อว่า A Brief
History of NAND Flash Storage เป็นการเล่าเรื่องโดยใช้รูปแบบของการเขียน
Whiteboard เพื่ออธิบายเรื่องราว โดยเริ่มต้นก็จะเล่าถึงนักวิทยาศาสตร์ชื่อ
Dr. FujioMasuokaเป็นผู้คิดค้น NAND Flash ในปี 1987 (25 ปีที่ผ่านมา) เพื่อจัดเก็บข้อมูลและมีความเร็วสูง
เพื่อเอามาทดแทนระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันโดยออกแบบให้มีจุดเด่นคือ
ให้มีความจุขนาดใหญ่ ต้นทุนราคาต่ำ ความเร็วสูงและจัดเก็บข้อมูลให้คงอยู่ได้
แม้กระทั่งไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง (ปิดเครื่อง) เป็นจุดหลักสำคัญ
และก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีการนำ NAND
Flash มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์หลายประเภทเช่น USB
Thumbdrive, อุปกรณ์เล่นเพลง Apple iPod, กล้องถ่ายรูปดิจิตัล,
คอมพิวเตอร์ Laptop, Smartphone รวมถึง
เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เทคโนโลยี หมายถึง
การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือหมายถึงการนำความรู้
ทักษะ และทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เช่น
การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี
ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์
ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่าง
ๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที
สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์
ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ
นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and
Informationหรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน
สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย
และธุรกรรมการเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution
of Technolgy)
เทคโนโลยี
มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ
(Evolution)
ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution
of Technology) จึงหมายถึง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ
วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค
- ยุคหิน (Stone age)
- ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
- ยุคเหล็ก (Iron age)
- ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
- ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)
ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)
ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ
อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข
สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล
และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ
ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ
ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่
บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ
หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ
เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า
30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM
1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง
"คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ"
ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534
รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์
เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น พ.ศ. 2535
มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ
7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ
การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ
การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
สารสนเทศ
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ
และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น
สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย
ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข
การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้
และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา
นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ
วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ"
ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information
system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่
ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์
ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล
ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ
พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ
และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน
การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ
และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น
และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ
กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน
ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป (สุชาดา
กีระนันทน์, 2541)
1.ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level
systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร
เช่นใบเสร็จรับเงิน
2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้
3.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management
- level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ
และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
4.ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level
system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง
ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
• ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
• ช่วยลดต้นทุน
การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
• ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
• ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง
ๆ
• ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร
• ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า
บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น