ความหมายและขอบเขตของการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของ
การศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ ก.ค. ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้
"การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนา
ความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"
จะเห็นว่าการศึกษามีความหมายใน ๒ มิติ
คือมิติแรกเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ
และมิติที่สองเป็นการพัฒนาบุคคลผู้ศึกษาเองให้มีความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ
ค่านิยม และคุณธรรม ซึ่งทั้งสองมิติแห่งความหมายนี้แยกกันไม่ได้
ตรงกันข้ามจะต้องควบคู่กันไปเพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีความรู้แต่มีความประพฤติ
ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรม ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
ย่อมจะนำไปสู่การใช้ความรู้ในทางที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อทั้งตนเองและส่วนรวมได้
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งในเรื่องนี้มีความหมายตอนหนึ่งว่า
"ความรู้กับดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง
ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อนำทางไป ถ้าใช้ไฟนี้ส่องไปในทางที่ถูก
ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ระวังไฟนั้น
อาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะนำเราไปสู่ความเจริญ
ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน
จะทำลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้" (๒๘ ม.ค. ๒๕๐๕)
การศึกษาในความหมายนี้สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาไม่ใช่สิ่งที่จบหรือสิ้นสุดในตัวเอง
แต่การศึกษาจะต้องนำไปสนองต่อเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายบางประการ
โดยเฉพาะต่อสังคมส่วนรวม (ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป)
นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยนำพาให้บุคคลและสังคมไปสู่จุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ได้
การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องรวมไปถึงการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวมได้จึงจะถือได้ว่าเป็นการศึกษาในความหมายที่ครบถ้วน
สมดังที่พระราชกระแสที่ว่า
."การที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้วนี้
ทำให้แต่ละคนหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้
สติปัญญาของตนให้เป็นประโยชน์และเป็นความเจริญวัฒนาแก่บ้านเมืองและส่วนรวม"
(๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖)
พระองค์ทรงชี้ถึงปรัชญาการศึกษาที่น่าสนใจยิ่งคือ
เมื่อบุคคลหนึ่งมีการศึกษาที่สมบูรณ์
ผลแห่งการมีการศึกษาสมบูรณ์นี้จะกำหนดให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้และสติปัญญาของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่นและสังคมส่วนรวมโดยไม่ต้องมีบุคคลใดมาร้องขอหรือเรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมหรือประเทศชาติแต่การปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมหรือประเทศชาติของผู้มีการศึกษาที่สมบูรณ์เกิดขึ้นแต่ภายในจากจิตสำนึกแห่งสภาวะของการมีความรู้และสติปัญญาสมบูรณ์
โดยไม่ต้องมีสิ่งจูงใจหรือข้อแลกเปลี่ยน
เช่นประโยชน์ส่วนบุคคลหรือรางวัลใดๆมาเป็นแรงผลักดันให้
ผู้ที่มีการศึกษาสมบูรณ์ปฏิบัติหน้าที่อันควรจะกระทำ
ดังนั้นการศึกษาสมบูรณ์จึงมีความครบถ้วนในตัวเองทั้งองค์ความรู้และการใช้ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในความหมายเช่นที่กล่าวนี้การศึกษาจึงมีความหมายในเชิงสร้างสรรค์และเป็นผลดีเท่านั้น
ถ้าจะกล่าวในเชิงกลับกันอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวบุคคลหรือส่วนรวมนั้นไม่ใช่การศึกษาที่สมบูรณ์
และการศึกษาที่สมบูรณ์นี้เป็นการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งหวังให้เกิดขึ้นในพสกนิกรและประเทศชาติของพระองค์
การศึกษาที่จะนำไปสู่การศึกษาสมบูรณ์นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ว่าต้องประกอบด้วย
การศึกษาทางวิชาการและการศึกษาทางธรรม ทั้งนี้เพื่อการศึกษา
ทางธรรมคอยกำกับการศึกษาทางวิชาการให้ดำเนินไป
ในทิศทางที่ถูกต้องและสนองตอบต่อเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ดังพระราชดำรัสมีความตอนหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
การแบ่งการศึกษาเป็นสองอย่าง
คือการศึกษาวิชาการอย่างหนึ่ง วิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและแก่ บ้านเมือง
ถ้ามาใช้ต่อไปเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ขั้นที่สองก็คือ
ความรู้ที่จะเรียกได้ว่าธรรม คือ รู้ใน การวางตัว ประพฤติและคิด วิธีคิด
วิธีที่จะใช้สมองมาทำเป็นประโยชน์แก่ตัว สิ่งที่เป็นธรรมหมายถึงวิธีประพฤติปฏิบัติ
คนที่ศึกษาในทางวิชาการและศึกษาในทางธรรม ก็ต้องมีปัญญา แต่ผู้ใช้ความรู้ในทางวิชาการทางเดียวและไม่ใช้ความรู้ในทางธรรม
จะนับว่าเป็นปัญญาชนมิได้" (๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๓)
นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความรู้
ทั้งความรู้ในทางวิชาการและความรู้ในทางธรรม
ด้วยความรู้ทั้งสองด้านนี้จะก่อให้เกิด "ปัญญา" ขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายความหมายของปัญญาว่า
"ปัญญาแปลอย่างหนึ่งคือ
ความรู้ทุกอย่างทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็นขึ้นมา
และที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมา
เมื่อมีความรู้ความชัดเจนชำนาญในวิชาต่างๆดังว่า จะยังผลให้เกิดความเฉลียวฉลาดแต่ประการสำคัญนั้นคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้นจะรวมกันเป็นความสามรถพิเศษขึ้น
คือความรู้จริง รู้แจ้งชัด รู้ตลอด ซึ่งจะเป็นผลต่อไปเป็นความรู้เท่าทัน เมื่อรู้
เท่าทันแล้วก็จะเห็นแนวทางและวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นอุปสรรคปัญหา
และความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวง ได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสมจนบรรลุ
ความสำเร็จ" (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑)
ปัญญาในความหมายนี้
ทรงชี้ว่าเป็นสภาวะแห่งการรู้จริง การรู้แจ้งชัดและการรู้ตลอด
ซึ่งสภาวะแห่งการรู้ทั้งสามนี้จะนำไปสู่การรู้เท่าทันและปัญญาในความหมายดังกล่าวนี้จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคและนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดง
ถึงความหมายของการศึกษาที่เป็นปัจจัย ก่อให้เกิดความรู้ สภาวะแห่งการรู้จริง
และรู้ทุกอย่าง เป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดปัญญาและด้วยปัญญาจะนำไปสู่ความสำเร็จ
กล่าวให้ชัดเจนคือ การศึกษา ความรู้และปัญญาเป็นเรื่อง
ที่มีความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้ การจะเข้าใจ
เรื่องหนึ่งเรื่องใดให้สมบูรณ์จะต้องเข้าใจทั้งสามเรื่อง อย่างเชื่อมโยงกัน
การศึกษาในความหมายนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวทรงอธิบายว่าเป็นเรื่องของทุกคนตั้งแต่เกิดและไมีมี
ที่สิ้นสุดตลอดชีวิตของคน ทรงแสดงขอบเขตการศึกษา ในชีวิตคนกับบรรดา
นักศึกษามหาวิทยาลัยไว้ดังนี้
........"การศึกษานั้นเป็นเรื่องของทุกคน
และไม่ใช่ว่าเฉพาะในระยะหนึ่ง เป็นหน้าที่โดยตรงในระยะเดียวไม่ใช่อย่างนั้น
ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องศึกษาเติบโตขึ้นมาก็ต้องศึกษา
จนกระทั่งถึงขั้นที่เรียกว่าอุดมศึกษา อย่างที่ท่านทั้งหลายกำลังศึกษาอยู่
หมายความว่าการศึกษาที่ครบถ้วน ที่อุดม ที่บริบูรณ์
แต่ต่อไปเมื่อออกไปทำหน้าที่การงานก็ต้องศึกษาต่อไปเหมือนกัน
มิฉะนั้นคนเราก็อยู่ไม่ได้ แม้จบปริญญาเอกแล้วก็ต้องศึกษาต่อไปตลอด หมายความว่า
การศึกษาไม่มีสิ้นสุด" (๒๐ เมษายน ๒๕๒๑)
พระราชดำรัสองค์นี้ชี้ถึงขอบเขตการศึกษาที่ครอบคลุมตลอดชีวิตของบุคคล
ตั้งแต่เกิดต่อเนื่องกันจนถึงวาระ สุดท้ายของชีวิต
เสมือนการศึกษากับชีวิตเป็นของคู่กัน นั่นหมายความว่าขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึง
ทุกเรื่องและทุกเวลาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการศึกษามิได้มีขอบเขตเฉพาะเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ด้วยความหมายและขอบเขตของการศึกษาตามแนวพระราชดำรินี้
จะเห็นว่าการศึกษาเป็นหัวใจของชีวิตมนุษย์ และการศึกษาเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญของมนุษย์ให้ไปสู่การพัฒนาคุณภาพตนเอง
และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม กล่าวให้ชัดเจนโดยสรุปคือ
ความหมายของการศึกษาจะต้องกำกับด้วยจุดหมายของการศึกษาด้วย
กล่าวคือเป็นการศึกษาที่สร้างสรรค์และเป็นผลดีแก่บุคคลและส่วนรวมเท่านั้น
การเรียนรู้
.....หมายถึง
การเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลอันเนื่องมาจาก การเผชิญสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ซ้ำ
ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นสัญชาติญาณ หรือเป็นส่วนของพัฒนาการโดยปกติ
......ในทฤษฎีการเรียนรู้นั้นกล่าวถึงรูปแบบและคำที่ควรรู้
ได้แก่ Conditioningมี 2 ประเภท ได้แก่
1. Classical Conditioning (respondent conditioning)
.....คือ การที่บุคคล (อาจเป็นคนหรือสัตว์)
ได้รับสิ่งกระตุ้น (Stimulus) สองสิ่งในเวลาใกล้เคียงกันโดยที่สิ่งกระตุ้นหนึ่ง
เป็นสิ่งกระตุ้นที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยธรรมชาติ (Unconditioned Stimulus)
และอีกสิ่งกระตุ้นเป็นสิ่งที่ถ้ากระตุ้นโดยลำพังจะไม่มีการตอบสนอง Conditioned
stimulus) เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นควบคู่กันผ่านระยะเวลาหนึ่ง
บุคคลจะตอบสนองต่อ Conditioned stimulus (CS) ได้โดยไม่ต้องมี
Unconditioned stimulus (UCS) ร่วมด้วย
.....ตัวอย่างเช่น ในการทดลองของ Pavlov
เขาให้อาหารสุนัขพร้อมเสียงกระดิ่งเมื่อสุนัขเห็นอาหารจะมีน้ำลายไหล
(ขณะเดียวกันจะได้ยินเสียงกระดิ่งด้วย)
ต่อมาพบว่าแม้สุนัขไม่เห็นอาหารแต่ได้ยินเสียงกระดิ่งก็จะมีน้ำลายไหลด้วย
.....จากกรณีนี้ อาหาร คือ unconditioned
stimulus (UCS) จะทำให้เกิดการตอบสนองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว (Unconditioned
Response = UCR) คือน้ำลายไหล ส่วนเสียงกระดิ่งเป็น Conditioned
Stimulus (CS) ซึ่งโดยปกติเมื่อได้ยินจะไม่มีน้ำลายไหล
แต่เมื่อให้คู่กับอาหาร ต่อมาเพียงแต่ได้ยินเสียงกระดิ่งก็จะมีน้ำลายไหล
ซึ่งตอนนั้นน้ำลายไหลจะเป็น Conditioned response (CR) คือการตอบสนองที่เกิดภายใต้เงื่อนไข
ถ้าดูแผนภูมิก็คือ
.....อาหาร (UCS) น้ำลายไหล
(UCR)
.....เสียงกระดิ่ง (CS) + อาหาร (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
.....เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)....Extinction คือ
ภาวะหมดการตอบสนองต่อ conditioned Stimulus (CS) เนื่องจากมีการให้
CS อย่างซ้ำ ๆ โดยไม่ได้ให้UCS ร่วมด้วย
ทำให้ต่อมาไม่เกิดการตอบสนอง เช่น จากตัวอย่างเมื่อสักครู่
หากมีการสั่นกระดิ่งโดยไม่ให้อาหารสักระยะหนึ่ง สุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลอีก
แต่ภาวะดังกล่าวนี้หากให้พักโดยไม่กระตุ้นเลยระยะหนึ่งแล้วกระตุ้นใหม่
อาจมีการตอบสนองกลับคืน
แต่ไม่มากเท่าเดิม
....Stimulus generalization คือ
การที่เมื่อเกิดการเรียนรู้ แบบ Classical Conditioning แล้ว
บางครั้ง นอกจากจะตอบสนองต่อ Conditioned Stimulus แล้ว
ยังตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
เช่น สุนัขที่มีน้ำลายไหลเมื่อมีเสียงกระดิ่งแล้ว
ยังตอบสนองต่อเสียงกริ่งที่คล้ายกระดิ่งด้วย
....Discrimination คือ
การเรียนรู้ของคนหรือสัตว์นั้น นอกจากตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คล้ายกันได้แล้วนั้น
ในทางกลับกันหากมีความสามารถจะแยกสิ่งเร้าที่แตกต่างกันก็ทำให้ตอบสนองไม่เหมือนกัน
เช่น เด็กที่กลัวสุนัข จะไม่กลัวแมว แม้จะมีสี่ขาเหมือนกัน
แต่เด็กแยกได้ว่าสุนัขกับแมวแตกต่างกัน
.....ดังนั้นปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าใดๆ
นอกจากเกิดได้ตาม Classical Conditioning แล้ว
แต่ยังมีความ-แตกต่างที่ขึ้นกับความสามารถของบุคคลในการที่จะ Discrimination
และ generalization ด้วย
2. Operant Conditioning
.....ผู้ที่นำเสนอทฤษฎีนี้ คือ Skinner
ทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงการเรียนรู้ที่ได้มาจากการได้รับผลของ การกระทำ
เช่น หนุถูกจับไปทดลองให้วิ่งไปสำรวจที่ต่าง ๆ ในกรง เมื่อสำรวจเสร็จไปกดโดนคันโยก
จะมีเศษเนยแข็งหล่นลงมา หนูจะเรียนรู้ที่จะกดคันโยกอีก
นอกจากอาหารแล้วสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
ก็ถือว่าเป็นรางวัลที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ เช่น คำชม, การขยันเรียนแล้วได้ผลการเรียนดี
เป็นต้น
.....ความถี่ห่างของการให้รางวัลจะมีผลกับการตอบสนอง
หากให้รางวัลทุกครั้งที่ทำได้ จะเกิดการเรียนรู้เร็ว แต่การให้รางวัลนาน ๆ ครั้ง
จะช่วยป้องกันเรื่องการเลิกทำ เช่น ผู้ติดการพนัน ถ้าหากไม่ชนะเลยก็จะเลิกเล่น
แต่หากชนะบ้างก็ยังมีแรงจูงใจให้อยากเล่นต่อ
.....Positive reinforcement หมายถึงกระบวนกาเรียนรู้ที่การตอบสนองเกิดมากขึ้นเพื่อจะได้รับรางวัล
Negative reinforcement หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดการตอบสนองมากขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น นักเรียนขยันเพราะกลัวสอบตก แต่ negative
reinforcement ไม่ใช่การลงโทษ การลงโทษเป็นกระบวนการทำให้ response
ที่ไม่ต้องการลดลง
.....Shaping behavior เป็นการปรับพฤติกรรม
บุคคลให้เป็นไปในทางที่เราต้องการ โดยอาศัยความรู้เรื่อง การเรียนรู้ เช่น
จะฝึกให้แมวน้ำกดกริ่งด้วยจมูกจะเริ่มจากให้รางวัลเมื่อแมวน้ำเอาจมูกมาใกล้ ๆ
กริ่งก่อน แมวน้ำจะเริ่มรู้ว่า ถ้าเอาจมูกมาบริเวณนี้จะได้รางวัล
และต่อมาจะให้รางวัลเมื่อกดลูกกริ่ง แมวน้ำจะเริ่มเรียนรู้การกดกริ่ง
.....Cognitive Learning Theory หมายถึง
ขบวนการรับประสบการณ์ต่าง ๆ ไปประมวลคิดและใช้
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความฉลาดใช้เป็นการเข้าใจเรื่องเหตุและผล
.....การนำความรู้เรื่องนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโดยการทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรม
ถึงเหตุและผลที่ ตามมา เช่น การฝึกคลายเครียด (relaxation) ให้แก่ผู้ป่วย
โดยตรวจวัดความดันโลหิตและชีพจรไปด้วยกัน ผู้ป่วยจะพบว่าเมื่อฝึกแล้ว
ความดันโลหิตลดลง และชีพจรเต้นช้าลง
ทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้ว่าการฝึกจะทำให้สุขภาพดีขึ้น
.....นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายมี cognitive
function ทำงานผิดปกติ (error) ก็มีอาการเจ็บป่วยได้
เช่น ผู้ป่วยที่มองตัวเองในแง่ร้าย เวลาเกิดเรื่องที่ไม่ดี
มักจะโทษตัวเองเป็นต้นเหตุ (ทั้งที่จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นจากสิ่งอื่น)
ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หากรักษาให้มี cognitive function ดีขึ้น
ไม่มองตนเองในแง่ลบ (มองตามความเป็นจริง เข้าใจเหตุและผลกระทบตามสภาพความเป็นจริง)
แล้วอาการจะทุเลาขึ้น
.....Social Learning Theory ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานว่าพฤติกรรมของคนถูกปรับได้โดยปฏิกิริยาในสังคมและการเลียนแบบ
โดยคนจะเลียนแบบกันได้ แต่ต้องมีความเหมาะกับพื้นฐานดั้งเดิมของตน
การเลียนแบบจึงจะเกิด ซึ่งหากนำทฤษฎีเกี่ยวกับ operantและclassical
Conditioningมาช่วยก็จะพบว่าหากการเลียนแบบนั้น ได้รับแรงเสริมด้วย
เช่น เป็นที่ชื่นชม ก็จะทำให้การเลียนแบบ เกิดขึ้นได้ง่าย
.....สิ่งที่คนเราจะเลือกเลียนแบบ ขึ้นกับ
อายุ, เพศ, สถานะ
ถ้าหากได้รูปแบบที่ดีเลียนแบบก็จะมี self-efficacy คือ
สามารถปรับตัวเผชิญสถานการณ์และดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมได้
แรงจูงใจ (Motivation)
.....เป็นภาวะที่ทำให้บุคคลมีความพยายามจะปฏิบัติสิ่งใดสิ่งใดหนึ่ง
อาจเป็นภาวะที่กำลังยากลำบาก เช่น กำลังหิวมีความพยายามหาอาหาร
เป็นความพยายามของบุคคล (คนหรือสัตว์) ที่จะรักษาสมดุล ของชีวิต เช่น
หิวน้ำก็พยายามหาน้ำ, เหงา ว้าเหว่
ก็พยายามทำสิ่งที่คนนึกถึงและยอมรับ (Social motives).....แรงจูงใจของแต่ละคนขึ้นกับคุณค่า
(value) ที่แต่ละคนกำหนดในใจ เช่น บางคนต้องการเรียน
ให้ได้เกรด A, บางคนต้องการเรียนให้ผ่าน เป็นต้น
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
การสอน
หมายถึง
การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการ
ซึ่งครูจะต้องมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนโดยสอนให้การศึกษาแก่เด็กและฝึกอบรม
ซึ่งครูจะต้องสื่อกับผู้เรียนให้เข้าใจด้วย
สิ่งที่ครูจะนำมาเพื่อสามารถสื่อให้กับผู้เรียนได้นั้น อาจจะได้มาจากวัสดุการเรียนการสอนต่างๆ
หรือโสตทัศนวัสดุ ต่างๆเป็นต้น
1. วิธีสอน
มักจะอธิบายในรูปแบบของการนำเสนอต่างๆ เช่น การบรรยาย หรือการอภิปรายเป็นต้น
วิธีสอนจะเป็นในลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและได้รับความรู้จากเนื้อหาสาระที่เรียน
ส่วนสื่อจะเป็นเนื้อหาความรู้ เกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย
ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น
เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนนั้นจึง หมายถึง
การนำความรู้หรือประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนหรือผู้รับสาร
โดยผู้ที่สื่อสารหรือครูจะต้องมีความชัดเจนและสื่อสารให้เด็กเข้าใจได้
โดยอาจจะนำสิ่ง อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆมาเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนร่วมด้วย
หน่วยการเรียนที่ 3
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ
จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป
ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน
1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication)
มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information)
ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์
ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน
เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน
ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร
เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์
เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material
s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน
เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า
วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s
) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ
(หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส
สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง สิ่งต่างๆที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ
ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน
ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา
แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ
หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี
ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบพื้นฐาน
1.หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
2.ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion
Channel)
3.หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วยเพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดเวลาการทำงานเพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสารเพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การเพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การการสื่อสารกับการเรียนการสอนการเรียนรู้กับการเรียนการสอน 1. การเรียนรู้
(Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ
จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรโดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ 2. การสอน (Instruction)
หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป
ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium
หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication)
มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information)
ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์
ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน
เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
สื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ (Format) แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน
ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16
และ 35 มิลลิเมตร
เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์
เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา (Verbal) เป็นต้น วัสดุ (Material
s ) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน
เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า
วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Material s
) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ
(หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. สาร (Messages)
ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร
หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา
แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ
หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี
ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. วิธีสอน วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป
มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms) เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน
วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน
ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร
จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก
จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้
แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน
การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร
การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย
ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น
เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication
Process)
กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว
กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal
ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ
ดังกล่าวได้
ความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย
และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ
การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ
การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา)
การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์)
เราอาจแยกแยะให้เห็นความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารแนวต่าง
ๆ ได้ดังนี้
ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational
theory)
ใช้เป็นหลักในการบริหารและปฏิบัติงานสื่อสารทุกประเภทในสาขานิเทศศาสตร์
และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชน
การสื่อสารพัฒนาการ การสื่อสารการเมืองหรือการสื่อสารธุรกิจ
ทฤษฎีการสื่อสารแนวปฏิบัติสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรม อาทิ
การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ความเพลิดเพลิน ความบันเทิงหรือจิตบำบัด
นอกจากนั้นยังจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
วิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี
สาขานิเทศศาสตร์ จัดว่าเป็นการรวมทฤษฎีแนวปฏิบัติไว้ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาทั้งในเชิงองค์รวมและเชิงแยกส่วน...
เชิงองค์รวมอยู่ในวิชาแกนบังคับร่วมเชิงแยกส่วนอยู่ในวิชาเอกบังคับสาขาต่าง ๆ อาทิ
สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical
theory)
ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสารภายในองค์กร
การสื่อสารสาธารณะ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารระหว่างประเทศ หรือการสื่อสารของโลก
สามารถใช้เป็นพื้นฐานความคิดของการสร้างสมมติฐานในงานวิจัย
และการแสวงหาแนวหรือประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์สื่อหรือการสื่อสารโดยนักวิชาการ หรือนักวิจารณ์สื่อ
(media
critics)
การศึกษาทฤษฎีแนววิพากษ์
ควรอยู่ในวิชาปีสูงของระดับปริญญาตรี หรือในวิชาส่วนใหญ่ของระดับปริญญาโท
ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical
theory)
ใช้เป็นหลักในการแสวงหา (searching)
หรือพิสูจน์ (proving) ข้อเท็จจริง หรือสัจจะ
ในเชิงวิทยาศาสตร์
เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานหลักเพื่อการพัฒนาการบริหารหรือการปฏิบัติงานการสื่อสารทุกประเภท
รวมทั้งใช้เป็นหลักในการปรับปรุงวิพากษ์วิจารณ์สื่อ
หรือการสื่อสารให้มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรค์
ปรัชญาในที่นี้มิได้หมายถึงวิชาปรัชญาทั่วไป (general philosophy) แต่หมายถึงแนวคิดลึกซึ้งและกว้างขวางบนพื้นฐานการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์
สามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสมมติฐานของการวิจัย
และการอ้างอิงในการศึกษาวิจัยทางนิเทศศาสตร์
ทฤษฎีการสื่อสารแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เพิ่มขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ
แนวดิ่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าลึกซึ้งในความหมายปรัชญา วัตถุประสงค์บทบาทหน้าที่
สิทธิเสรีภาพ และความรับผิดชอบของการสื่อสารประเภทต่าง ๆ
แนวราบ ได้แก่
การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างนิเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ อาทิ จิตวิทยา
สังคมวิทยา สังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life
sciences) พิภพศาสตร์ (Earth sciences)
นอกจากนั้น
ยังอาจนำไปสู่การปฏิรูปหรือการปฏิวัติวิชาการและวิชาชีพนิเทศศาสตร์
ให้มีคุณประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อชีวิตและโลก ก่อให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุนในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศต่าง
ๆ และในโลกมนุษย์โดยรวม
ทฤษฎีไซเบอร์เนติกส์ของนอร์เบิร์ต วีเนอร์
และทฤษฎีสารเวลาขาองสมควร กวียะ (เสนอที่ประชุมราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545) เป็นตัวอย่างของทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ขยายขอบเขตของนิเทศศาสตร์ออกไปบูรณาการกับศาสตร์ทุกแขนงทั้งในทางมนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ส่วนทฤษฎีปทัสถานซึ่งเริ่มต้นโดยวิลเบอร์ชรามม์แสดงให้เห็นถึงการศึกษาเจาะลึกลงไปในบทบาทหน้าที่หรือภารกิจของสื่อในปริบทของประเทศต่าง
ๆ ที่มีปทัสถานทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ เสรีนิยม อำนาจนิยม
เบ็ดเสร็จนิยม และทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
โดยสรุป
ทฤษฎีการสื่อสารทุกแนวและทุกระดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา
ทางนิเทศศาสตร์ที่จำเป็นต่อการทำงานและการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
เช่นเดียวกับทฤษฎีในศาสตร์ทุกแขนง
ทฤษฎีการสื่อสารมีประโยชน์ต่อชีวิต องค์กร
สังคม และโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
การศึกษาหรือการทำงานที่ปราศจากหลักการหรือทฤษฎี
ย่อมเปรียบเสมือนการแล่นเรือออกไปสู่จุดหมายปลายทางอีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร
โดยปราศจากความรู้ทางภูมิศาสตร์ อุตุนิยม ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นอกจากจะขาดประสิทธิผล
(คือแล่นเรือไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง) หรือขาดประสิทธิภาพ
(คือแล่นเรือไปถึงช้ากว่ากำหนด)
แล้วยังมีความเสี่ยงต่อความเสียหาที่สำคัญสองประการคือ ความเสียหายจากภัยอันตราย
(เช่น เรือเกยหินโสโครกหรือเรือแตกเพราะพายุ) และความเสียหายจากการพลาดโอกาส (เช่น
ท้องเรือว่าง ยังบรรทุกสินค้าบางประเภทได้อีก แต่ไม่รู้ไม่สนใจความต้องการ
ของตลาด)
ในทางนิเทศศาสตร์ ความเสียหายจากภัยอันตราย (risk
cost) เห็นได้ชัดจากการสื่อสารโดยไม่รู้กฎหมายหรือจริยธรรมและการสื่อสารโดยไม่รู้หลักจิตวิทยา
ความเสียหายจากการพลาดโอกาส (opportunity
cost) อาจได้แก่
การบริหารสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์โดยขาดความรู้หรือไม่คำนึงถึงศักยภาพของเครื่องส่งหรือของบุคลากร
การไม่ถือโอกาสสื่อสารทำความเข้าใจเมื่อเราได้พบบุคคลที่มีปัญหาขัดแย้งกับเรา
ทั้งนี้เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมของนิวคอมบ์ซึ่งบอกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นโอกาสสำคัญของการประนีประนอมความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ความเสียหายอันเกิดจากการพลาดโอกาสในทางนิเทศศาสตร์
อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ
การมิได้รายงานหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสภาพอากาศให้ชาวประมงทราบ อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อชีวิตและเรือประมง
ดังเช่น กรณีพายุที่ขึ้นฝั่งภาคใต้ของไทย หลายครั้ง
การมิได้สื่อสารสร้างความอบอุ่นในครอบครัว
อาจนำไปสู่การติดยาของลูกหลาน หรือแม้แต่การฆ่าตัวตายตามทฤษฏีของเอมิลดูรแกง (Émile
Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เขียน “Le Suicide” (การฆ่าตัวตาย) ในปี ค.ศ. 1897
ซึ่งได้เสนอว่าสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการฆ่าตัวตาย คือความวิปริตผิดปกติ (anomaly)
ที่มิได้มีการระบายถ่ายเทด้วยการสื่อสารกับบุคคลอื่น
ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสาร ยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical
period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี
เมื่อสัตว์ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่
20
วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain
of life) ได้สร้างเสริมให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย
และนี่เองที่ทำให้มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ชำนาญในการใช้มือ (homo
habills) มนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาดแสนฉลาด
(homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร
2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย และ (2)
การสื่อสารระหว่างร่างกายกับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species)
เดียวกัน
และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร
1. การสื่อสารภายในร่างกายเป็นไปทั้งโดยมีจิตสำนึก
(conscious) จิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious)
จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกอยู่เฉพาะภายในสมอง
จิตสำนึกอยู่ในรูปแบบของการสำนึกรู้และการคิด จิตใต้สำนึกส่วนใหญ่ “ซ่อนเร้น” อยู่ในส่วนเล็ก ๆ
ของสมองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์เก็บความจำ คือ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ส่วนจิตไร้สำนึก หมายถึง
การสื่อสารระหว่างสมองกับทุกเซลล์และทุกอวัยวะภายในร่างกาย
2. การสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับภายนอกร่างกายของตนเอง
หรือกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่กระทำโดยจิตสำนึกที่เกิดจากการส่งสาร
และรับสารผ่านประสาทการรับรู้
แต่ก็มีการสื่อสารกับภายนอกอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก
เพราะในบรรดารูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส ที่ผ่านตาม ลิ้น จมูก หู
หรือผิวหนังเข้าสู่สมองของเรานั้น
จะมีเพียงส่วนเดียวที่เรารับรู้ในระบบจิตสำนึกของเรา
นอกจากนั้นอาจจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก เช่น เสียงของทำนองเพลง (melody)
ที่ขับร้องโดยนักร้องเพียงคนเดียว
มักจะผ่านเข้าทางระบบจิตสำนึกแต่เสียงประสาน (harmony) ของเครื่องดนตรีนับร้อยชิ้นมักจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก
กระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งมีชีวิต
แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนามาเป็นมนุษย์
กระบวนการสื่อสารก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีพลัง
สมรรถภาพและสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น
เฉพาะภายในร่างกายก็ได้มีพัฒนาการของเนื้อเยื่อใหม่ (neocortex)
ของสมองส่วนบน ที่ทำให้มีการเรียนรู้ การคิด เกิดปัญญา (intellignce)
และภูมิปัญญา (wisdom) ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น
ๆ แม้ในหมู่สปีชีส์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ อาทิ ลิงชิมแปนซี หรือลิงโบโนโบ
ส่วนด้านภายนอกร่างกาย
มนุษย์ก็ได้อาศัยสมองปัญญาและมือซึ่งเป็นมรดกของมนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo
erectus) สร้างเครื่องมือหรือส่วนขยายของมือ (extension of
hands) นับตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงสถานีอวกาศ
อย่างไรก็ตาม
กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ตั้งแต่จุดแรกเริ่มกำเนิดมนุษย์จนถึงเอประมาณห้าแสนปี
ก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ
เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับชีวิต และต้องดำเนินไปเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิต
เป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อชีวิต (communication for life) และเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยอัตโนมัติ
และไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลยได้ (compulsory communication)
การสื่อสารโดยธรรมชาติตอบสนองความต้องการทางเพศและความต้องการทางสังคม
เพื่อทำให้อัตตา (self) ชาติพันธุ์ (race)
และสปีชีส์ (species) ของตนอยู่รอดปลอดภัย
นั่นคือ บทบาทหน้าที่ (function) ที่เป็นเหตุผลหลักของการที่มนุษย์จะต้องมีการสื่อสาร
ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นก็เพิ่มเสริมเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่ขยายออกมาถึงระดับชื่อเสียง ความภาคภูมิใจและอำนาจเหนือผู้อื่น
กระนั้นก็ตาม
บทบาทหน้าที่ในการอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตและสังคมก็ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเรื่อยมา
ยิ่งมีอันตรายหรืออุปสรรคต่อการอยู่รอดปลอดภัยมาก
มนุษย์ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และนี่เองที่ทำให้สมองของมนุษย์มีพัฒนาการขึ้นในส่วนหน้าด้านซ้ายของเนื้อเยื่อใหม่
จนสามารถทำให้มนุษย์พูดเป็นคำได้เมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน
การสื่อสารเป็นคำ (verval
communication) หรือการพูดทำให้สื่อสารกันได้เร็วจนสามารถ
ที่จะลดหรือป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือมนุษย์กลุ่มอื่น
เพราะมันเป็นความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย
และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของภาษา. จากภาษาพูดมาสู่ภาษาภาพ และภาษาเขียน
หลักฐานภาษาภาพที่ได้พบที่ถ้ำลาสโกส์และถ้ำโซเวต์ในฝรั่งเศส
ถ้ำอัลตามิราในสเปน รวมทั้งหลายแห่งในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มีความหมายเกี่ยวกับอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ
ทำให้เราต้องสันนิษฐานว่า
ภาษาพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการลดหรือขจัดอันตรายต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์เสียแล้ว
ไม่ว่าเขาจะอยู่ในท้องถิ่นทวีปใด
ภัยอันตรายจากสัตว์หรือมนุษย์กลุ่มอื่นอาจลดได้
ป้องกันได้โดยการรวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ภาษาพูด
แต่ยังมีภัยอันตรายอีกมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาพจนตรอกจนใจ
จนทำอะไรไม่ได้ แม้จะมีการรวมตัวรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเข้มแข็งเพียงใดก็ตาม
ภัยอันตรายจากพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ
ฟ้าผ่า เชื้อโรค และความกลัวอันตรายที่เกิดจากอวิชชา
เมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวหาง ดาวตก
ภัยอันตรายและความกลัวอันตรายนี่เองที่อาจทำให้มนุษย์ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อระบายความรู้สึกกลัว
หรือพยายามติดต่อสื่อสารขอความเห็นใจจากอำนาจ “ลึกลับ”
ที่อาจอยู่เบื้องหลังอาจจะต้องร้อง เต้น เขียนภาพ ฆ่าสัตว์
หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองเพื่อบูชายันต์
การพยายามสื่อสารกับ “อำนาจลึกลับ” ก่อให้เกิดศาสนาโบราณและไสยศาสตร์ของชนเผ่าต่าง
ๆ ในทุกทวีป แต่เมื่อประมาณสามพันปีศาสดาผู้เปรื่องปราชญ์และทรงปัญญา ได้เสนอหลักศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ทำให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฮินดู ขงจื้อ พุทธ
คริสต์ อิสลาม สิกข์ (sikn) และบาไฮ
การสื่อสารกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนาและไสยศาสตร์
ทั้งในด้านการสถาปนาและในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอน
การสถาปนาลัทธิความเชื่อ ได้แก่
การสร้างเรื่อง (story-making) การเล่าเรื่อง (story-telling)
เกี่ยวกับอำนาจลึกลับ เทพเจ้า พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจ
แม้ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ก็ยังมุ่งใช้จิตวิทยาการสร้างเรื่อง สร้างสมมติเทพ และนิทานชาดก
เกี่ยวกับการประสูติในชาติและรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธองค์
ทั้งนี้เพื่อชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้ตื่นเต้น สนใจ และเลื่อมใสศรัทธา อาทิ
ลัทธิดินแดนบริสุทธิ์ของจีนเชื่อว่าถ้ามีศรัทธาในอำนาจของอมิตาภา
ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าของเขตปัจฉิม จะได้ไปเกิดใหม่ในแดนสุขาวดี
ซึ่งปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง มีพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่กลับมาเกิดในหลายชาติ
เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ก่อนที่จะบรรลุการตรัสรู้สูงสุดและกลายเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง
อวโลกิตศวร
ก็ถือกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา สงสาร ซึ่งคนจีนเชื่อว่าปรากฏออกมาในร่างเจ้าแม่กวนอิม
ผู้ทรงเมตตาและให้ทานแก่เด็กคอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
และนักเดินทางในแดนกันดาร ส่วนในจักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สลักเป็นจตุรพักตร์ขึ้นไว้ทั้ง 54 ปรางค์
ในบริเวณปราสาทบายน (ไพชยนต์)
ในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอนได้มีการใช้ปัจจัยกลยุทธ์
ทั้งในการสร้างสื่อและในการสร้างสาร ศาสนาพุทธสื่อสารเผยแพร่ด้วยภาษาบาลี
ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบ้านอินเดียในยุคนั้นเข้าใจง่ายจนสามารถเข้าถึงหลักการสื่อสารภายในบุคคล
ระหว่างบุคคลและการสื่อสารสังคมเป็นอย่างดี ทุกศาสนามีการใช้คำอุปมาอุปไมย (metaphor)
ที่ทำให้เข้าใจคำสอนได้อย่างลึกซึ้ง
ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์
ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ลัทธิลูเธอร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 โดยนักปฏิรูปศาสนา ฌองกัลแวง (Jean Calvin) เริ่มต้นด้วยหนังสือ
เรื่อง สถาบันศาสนาคริสต์ (“L’ Institution de la Religion Chrétianne”)
ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก
ตั้งวิทยาลัยเผยแพร่ศรัทธา (propaganda fide) ในปี
ค.ศ. 1622
เพื่อผลิตมิชชันนารีเป็นสื่อบุคคลออกไปสอนศาสนาในต่างประเทศ
นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชานิเทศศาสตร์
แต่ก็ยังไม่มีองค์ความรู้ที่พอจะนับเป็นหลักทฤษฎีได้
ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการศึกษาเรื่องการสื่อสาร
โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ลดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ
ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง “The Expression of Emotions
in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค.3ศ. 1872
โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้
ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้งในระดับวิชาชีพและวิชาการ
ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline)
ในมหาวิทยาลัย
แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม
ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น
อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ได้มีการพัฒนาวิชาการทางด้านการสื่อสาร
สร้างเป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในสถาบันชั้นสูง
เป็นการนำวิชาการสื่อสารเข้าสู่ยุคทฤษฎีช่วงแรก
ก่อนที่จะวิวัฒนาการไปสู่ยุคสมัยนิยม จึงอาจเรียกยุคนี้อีกอย่างหนึ่งว่า
ยุคก่อนสมัยนิยม (pre-modern age) มีแนวโน้มพัฒนาหลักการรายงานข่าวสารในชีวิตประจำวันให้เป็นศิลปะศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า
วารสารศาสตร์ (journalism)
ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกประมาณทศวรรษ 1890 ถึงประมาณทศวรรษ 1920 และช่วงที่สองทศวรรษที่ 1920 ถึงประมาณทศวรรษที่ 1940
1. มีการพัฒนาวิชาการสื่อสาร ใน 6 ด้าน คือ
1.1 วารสารศาสตร์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ (print
journalism) มีการก่อตั้งโรงเรียน
หรือสถาบันวารสารศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี
และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (นครนิวยอร์ค)
วิชาการวารสารศาสตร์ค่อย ๆ
ขยายออกไปครอบคลุมการโฆษณา (advertising) และการประชาสัมพันธ์
(public relations) โดยเฉพาะเมื่อนักหนังสือพิมพ์ต้องมีส่วนร่วมหรือสัมผัสกับงานการสื่อสารทั้งสองแขนง
เอ็ดเวิร์ด แบร์เนส์ (Edward
Bernays) หลานของซิกมุนด์ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เริ่มสร้างทฤษฎีการประชาสัมพันธ์เป็นก้าวแรก
หลังจากที่ไอวีลีตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์แห่งแรก ที่นิวยอร์ก ในปี 1903
1.2 วิชาการภาพยนตร์
ค่อย ๆ เริ่มเจริญเติบโตในสหรัฐอเมริกา
ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยเฉพาะเมื่อมีการสถาปนาระบบดารา (star
system) ขึ้นในฮอลลีวูด ในปี 1910
และภาพยนตร์อเมริกันประสบความสำเร็จในการขยายอิทธิพลของฮอลลีวูดออกไปทั่วโลกตั้งแต่ปี
1919
1.3 การปฏิวัติทางโทรคมนาคม
ก่อให้เกิดการพัฒนาวารสารศาสตร์ทางวิทยุและ
โทรทัศน์ (Broadcast journalism) การประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาด้วยคลื่นวิทยุของไฮน์ริคเฮิร์ตส์
(Heinrich Hertz) นำมาสู่การกำเนิดสื่อใหม่
คือวิทยุกระจายเสียงสำหรับนักวารสารศาสตร์สมัยใหม่
จะได้ใช้ในการรายงานข่าวสารเป็นประจำวัน เริ่มตั้งแต่ปี 1920
ที่สถานีเชล์มฟอร์ดในประเทศอังกฤษและปี 1921 ที่สถานีหอไอเฟล
ประเทศฝรั่งเศส
1.4 ทางด้านหนังสือ
เริ่มเกิดมีวรรณกรรมมวลชน (Mass
Literature) โดยการบุกเบิกของนักเขียนอเมริกัน ชื่อ เอช จี เวลส์ (H.G.
Wells) นักเขียนอังกฤษชื่อ ดี เอ็ชลอเรนซ์ (D.H. Lawrence) และนักเขียนฝรั่งเศส ชื่อ จูลส์เวร์น (Jules Verne) มีการเขียนเรื่องแนววิทยาศาสตร์เพื่อป้อนสถานีวิทยุกระจายเสียงและภาพยนตร์
หนังสือกลายเป็นสื่อมวลชนประเภทช้า (slower media) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสื่อมวลชนประเภทเร็ว
(faster media) ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
1.5 ทางด้านสังคมวิทยาการสื่อสาร (Sociology
of Communication)
เอมีล ดูรแกง (Émile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสทำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการฆ่าตัวตาย
สร้างเป็นทฤษฎีอัตวินิบาตกรรม (Théorie de Suicide 1897) ที่เสนอว่าสังคมที่มีระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลต่ำจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง
ทฤษฎีนี้ย้ำให้เห็นบทบาทและความสำคัญของการสื่อสารที่มีต่อการแก้ปัญหาสังคม
1.6 ทางด้านจิตวิทยาการสื่อสาร (Psychology
of Communication)
ซิกมุนด์ฟรอยด์ (Sigmund
Freud) เขียนหนังสือเกี่ยวกับการตีความหมายหรือการทำนายฝัน (1900)
และเรียงความสามเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเพศ (1905) อาจถือได้ว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารภายในบุคคล (intrapersonal
communication) อย่างลึกซึ้งจริงจัง ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในนามของจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) และจิตบำบัด
(psychotherapy)
2. ในช่วงที่สอง
(ทศวรรษ 1920
ถึงทศวรรษ 1940) เป็นช่วงที่โลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤตการณ์ร้ายแรง
คือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Depression) ในปี 1929 ผนวกกับความเติบโตของลัทธินาซีในเยอรมนี และลัทธิฟาสชิสต์ในอิตาลี
ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง (1939 – 1945)
ในช่วงที่สองนี้
อาณาเขตของทฤษฎีการสื่อสารได้ขยายออกไปครอบคลุมรัฐศาสตร์ของการสื่อสาร (Politics
of Communication) เกิดปรากฏการณ์ที่อาจวิเคราะห์เชิงทฤษฎีออกได้เป็น
3 ปทัสถาน คือ ทฤษฎีเสรีนิยมแบบตะวันตก (Western
Libertarianism) ทฤษฎีอำนาจนิยมนาซีและฟาสชิสต์ (Nazi-Fascist
Authoritarianism) และทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ (Marxist-Leninist
Totalitarianism)
2.1 ทฤษฎีอำนาจนิยมนาซีและฟาสชิสต์
หลักการและกลยุทธ์การสื่อสารได้ถูกนำมาใช้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
เยอรมนียุคฮิตเลอร์และอิตาลียุคมุสโสลินี พัฒนากลไกการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda
machine) ตั้งแต่ระดับแผนกขึ้นไปสู่ระดับกระทรวง ใช้สื่อสิ่งพิมพ์
วิทยุกระจายเสียง ละครและภาพยนตร์ ในการปฏิบัติการทางจิตวิทยา (psychological
actions) โน้มน้าวจูงใจให้หลงเชื่อในลัทธิถือเชื้อชาติผิวพรรณ (racism)
และการกำจัดศัตรูของสังคม
โจเซฟ เกิบเบลส์ (Joseph
Goebbels) ประสบความสำเร็จสูงในการแปรกลยุทธ์จิตวิทยาการสื่อสาร
ออกมาเป็นโครงสร้างของรัฐที่มีประสิทธิภาพในการปลุกระดมคนเยอรมันให้ทำตามความคิดของผู้นำ
(Führer) อย่างมัวเมา จนถึงกับร่วมกันสังหารยิวหลายล้านคนด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณแซร์จ
ชาโกตีน (Serge Tchakhotine) ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมแห่งมหาวิทยาลัยปารีส
ศึกษายุทธการการโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนี
เขียนเป็นหนังสือเล่มสำคัญประกอบการบรรยายเรื่อง “Le Viol des Foulespar la
PropagandePolitique” (การข่มขืนฝูงชนด้วยการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง)
ตีพิมพ์ในปี 1940 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเพียงสองเดือน
อีกเรื่องหนึ่งคือ “ปรัชญาและโครงสร้างของฟาสซิสต์เยอรมัน” โดยโรเบิร์ต
เอ แบรดี (Robert A. Brady) ศาสตราจารย์วิชาเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ตีพิมพ์ในอังกฤษปี 1937
ยุทธการการโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนี
เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ผลักดันให้เห็นความสำคัญของการศึกษาวิชาการรณรงค์ทางการเมืองและสาธารณมติ
(Political
Campaign and Public Opinion) ในสาขาจิตวิทยาสังคม รัฐศาสตร์
และนิเทศศาสตร์ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
วอลเตอร์ลิปมันน์ (Walter
Lipmann) นักวารสารศาสตร์อเมริกันเขียนเรื่อง “สาธารณมติ” (1922) แฮโรลด์ ดี ลาสเวลล์ (Harold
D. Lasswell) ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์อเมริกันเขียนเรื่อง “เทคนิคการโฆษณาชวนเชื่อในสงครามโลก” (1927) และ “การโฆษณาชวนเชื่อและเผด็จการ” (1936) ทั้งสองนับว่าเป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญให้สาขาวิชาการสื่อสารการเมืองขึ้นมาเคียงข้างสาขาวิชาการสื่อสารองค์กรที่มีการประชาสัมพันธ์เป็นแกนหลัก
ในช่วงที่สองของยุคต้นนี้
นักวิชาการหลายคนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อและข่าวสารสรงคราม
เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์การสื่อสารต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายอักษะในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
นักคณิตศาสตร์ พอลเอฟ ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) เป็นคนหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักงานวิจัยวิทยุของมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์
และต่อมาเป็นนักวิจัยที่ปรึกษาของสำนักงานสารนิเทศสงคราม
เขาได้ผลิตผลงานวิจัยที่สำคัญหลายชิ้น
รวมทั้งการสร้างสมมติฐานการไหลสองทอดของข่าวสาร (Two-step flow hypothesis)
หลายเป็นคนหนึ่งที่ร่วมวางรากฐานการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีการสื่อสารในสหรัฐอเมริกา
ทั้ง ๆ ที่เขาเคยเป็นเพียงผู้ได้รับทุนร๊อกกีเฟลเลอร์ผ่านทางมหาวิทยาลัยเวียนนาที่เขาได้รับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์
2.2 ทฤษฎีเสรีนิยมแบบตะวันตก
จากการที่จะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตรทั้งในแนวหน้าและแนวหลัง
รวมทั้งการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำภายในประเทศ ทำให้ประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดีโรสเวลต์
เองก็ต้องหันมาพึ่งพากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
เขาได้สร้างลัทธินิวดีล (New
Deal) เพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
และระหว่างเศรษฐีนายทุนกับคนจน
ได้ใช้บุคลิกเฉพาะตนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุกระจายเสียงในการจูงใจคนอเมริกันให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร
นับว่าเป็นการนำหลักการและทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ของภาคเอกชนไปใช้ในภาครัฐได้อย่างผล
หลังสงครามจึงได้มีการเปิดสอนวิชาการสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)
และบริการข่าวสารสาธารณะ (Public information Service) ทั้งในอเมริกาและยุโรปกลายเป็นแขนงวิชาหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยที่เรียกว่า
“การประชาสัมพันธ์ภาครัฐ” หรือ “การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล” ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีการสื่อสารภายในกรอบปทัสถานการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย
2.3. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมแบบมาร์กซิสต์-เลนินิสต์
สำหรับในสหภาพโซเวียต
ตั้งแต่การปฏิวัติรัสเซีย ในปี 1920เลนินเขียนทฤษฎีการเมืองแนวสังคมนิยมหลายเล่ม
ในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน เขาได้เสนอแนวคิดสำคัญที่ว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นของรัฐโดยการควบคุมของพรรค
มีหน้าที่ในการให้การศึกษาแก่ชนชั้นกรรมาชีพ
มิใช่ทำธุรกิจขายข่าวเช่นในประเทศเสรีนิยม
ซึ่งสื่อมวลชนมักจะกลายเป็นเพียงเครื่องมือของนายทุน
ทฤษฎีพื้นฐานอุดมทัศน์มาจากทฤษฎีมาร์กซิสต์ผสมผสานกันออกมาเป็นทฤษฎีมาร์กซิสต์-เลนินิสต์
(Marxism-Leninism)
ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนและเวียตนาม
มองในแง่ทฤษฎีปทัสถาน (normative
theory) ทฤษฎีมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ สร้างรัฐเบ็ดเสร็จนิยม (totalitarian
state) ที่รัฐมีอำนาจเต็มในการดำเนินงานการสื่อสารมวลชน
เพื่อให้เป็นกลไกการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda machine) ที่จะปลุกระดมมวลชนและผลักดันประเทศไปสู่ความเป็นสังคมนิยมที่สมบูรณ์
การศึกษาวารสารศาสตร์สังคมนิยม (socialist
journalism) ในประเทศคอมมิวนิสต์จึงได้มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายอุดมการณ์นี้นับตั้งแต่ทศวรรษ
1920 เรื่อยมาจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษ 20 คู่ขนานมากับวารสารศาสตร์นิยม (liberal journalism) ในประเทศตะวันตกและที่นิยมตะวันตก
ทฤษฎีการสื่อสารยุคกลาง
ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนมาถึงทศวรรษ 1970
อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคโมเดิร์นนิสต์ (modernism) มีแนวโน้มสำคัญสามประการคือ
การวิพากษ์ทฤษฎีการสื่อสารของกลุ่มอำนาจนิยม
และเบ็ดเสร็จนิยม
การก่อเกิดทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
หรือนิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Development Communication Theory
การวิพากษ์ลัทธิสมัยนิยม (modernism)
ที่เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิหลังสมัยนิยม (postmodernism)
การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีอันเป็นที่มาของศาสตร์แห่งการสื่อสารมวลชน
1. ในภาพรวม
การวิพากษ์ทฤษฎีของกลุ่มอำนาจนิยมและเบ็ดเสร็จนิยม ก็คือ
การวิเคราะห์เชิงมานุษยวิทยาว่าเป็นแนวคิดที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองของปัจเจกชน
ใช้สื่อมวลชนปฏิบัติการทางจิตวิทยาอย่างเข้มข้นเพื่อผลทางการเมืองของฝ่ายเผด็จการ
สื่อมวลชนมีประสิทธิผลสูงในเชิงการเมือง แต่ขาดคุณค่าในเชิงมนุษยธรรม
การวิพากษ์ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีหลากหลายที่เกี่ยวกับผลและอิทธิพลของสื่อในเชิงลบ
อาทิ
กลุ่มทฤษฎีผลอันไม่จำกัดของสื่อ (unlimited
effects) ได้แก่ ทฤษฎีกระสุนปืน (magic bullet theory) และทฤษฎีกระสุนเงิน (silver bullet theory) ซึ่งเชื่อว่าการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความเชื่อและพฤติกรรมของมวลชนอย่างมหาศาล
เช่น ในกรณีที่ฮิตเลอร์กระทำต่อประชาชนชาวเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทฤษฎีเข็มฉีดยา (hypodermic needle theory) ที่พยายามแสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนสามารถอัดฉีด
“สารอย่างเดียวกัน” แก่สมาชิกทั้งหมดของสังคมมวลชนอย่างได้ผล
กลุ่มทฤษฎีนี้ต่อมาถูก “ลบล้าง” ด้วยกลุ่มทฤษฎีผลที่จำกัดของสื่อ (limited
effects) ที่อ้างปัจจัยตัวแปรต่าง ๆ
ทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา
หรือรัฐศาสตร์ที่สามารถจำกัดผลของสื่อได้ ทางด้านจิตวิทยา เช่น กระบวนการเลือกสรร
(selective
process) ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร (source credibility) กระบวนการยอมรับนวัตกรรม (innovation adoption process) ทฤษฎีแรงเสริม (reinforcement theory)
ทางด้านสังคมวิทยา เช่น
แบบจำลองการเกี่ยวโยงพึ่งพากันของผลจากสื่อมวลชน (dependency model of
media effects) สมมติฐานการไหลสองทอดของการสื่อสาร (two-step
flow of communication) แบบจำลองสังคมวัฒนธรรมและกลุ่มประเภททางสังคมในกระบวนการโน้มน้าวใจ
(sociocultural and social categories models of the persuasion process)
ทางด้านรัฐศาสตร์ เช่น
ทฤษฎีปทัสถานของการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน (normative theories of media
performance)
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์ผลและอิทธิพลของสื่อมิได้จำกัดอยู่เฉพาะผลทางตรงเท่านั้น
หากมุ่งมองไปที่ผลทางอ้อมด้วย ทฤษฎีสำคัญที่ยังศึกษากันจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
ทฤษฎีคนเฝ้าประตู (gatekeeper theory) ซึ่งเคิร์ทลูอิน
(Kurt Lewin) เป็นผู้เริ่มเสนอในปี 1947 ว่าสื่อมวลชนเป็นผู้กลั่นกรองคัดเลือกข่าวให้เหลือน้อยลงเพื่อการเสนอต่อประชาชน
แสดงให้เห็นอำนาจเด็ดขาดของสื่อมวลชนที่ไม่มีใครเข้าไปเกี่ยวข้องได้
ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดวาระ (agend-setting function) โดยลาซาร์สเฟลด์
(Lazarsfeld) เริ่มชี้ให้เห็นตั้งแต่ปี 1944 ว่านักการเมืองพยายามโน้มนำประชามติให้สนใจแต่วาระเรื่องราวที่สอดคล้องสนับสนุนจุดยืนของพรรคตน
ซึ่งต่อมาแม็คคอมบ์และชอว์ (McCombs and Shaws) ในปี 1972 ได้เสนอเป็นทฤษฎีที่แสดงอิทธิพลทางอ้อมของสื่อในการชี้นำวาระทางสังคม
หรือเรื่องราวที่ต้องให้ความสนใจ
แบบจำลองการขยายวงของความเงียบ (spiral
of silence) ซึ่งโนแอล-นอยมันน์ (Noelle-Neumann) เริ่มเสนอตั้งแต่ปี 1974
ว่าสื่อมวลชนเป็นผู้สร้างบรรยากาศของความคิดเห็น (climate of opinion) ที่ทำให้ปัจเจกชนรู้แนวโน้มของประชามติ
และมักจะปิดปากเงียบเมื่อรู้สึกว่าประชามติไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน จำนวนปัจเจกชนที่ปิดปากเงียบจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตามสัดส่วนความเข้มข้นของประชามตินั้น
2. นอกจากแนวโน้มในการวิพากษ์ผลและอิทธิพลของสื่อแล้ว
ยุคกลางของทฤษฎีการสื่อสารยังมีแนวโน้มในการเสนอแนวคิดและแนวทางใหม่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน
เพราะมีแรงผลักดันจากผลของสงคราม
สงครามทำให้เห็นความสำคัญของการบูรณะฟื้นฟูพัฒนายุโรปตะวันตก
การขยายขอบเขตการพัฒนาออกไปสู่ประเทศที่ยังด้อยพัฒนาในโลกที่สาม
รวมทั้งความสำคัญที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของสื่อมวลชนให้หันมาเน้นสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ
ต่าง ๆ ทุกทวีป
ได้เกิดมีกลุ่มทฤษฎีที่รวมเรียกว่า
ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา หรือนิเทศศาสตร์พัฒนาการ
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากนักวิชาการอเมริกันที่ตระหนักในอำนาจอิทธิพลของสื่อ
และประสงค์จะใช้สื่อในแนวทางใหม่ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของโลก
โดยเฉพาะในส่วนที่ยังยากจนและมองเห็นว่าล้าสมัย
แดเนียลเลอร์เนอร์ (Daniel
Lerner) เขียนหนังสือเรื่อง :”The Passing of Traditional
Society, Modernization of the Middle East” (การผ่านไปของสังคมประเพณีดั้งเดิม
การทำให้ตะวันออกกลางทันสมัย) ในปี 1958
เสนอความคิดให้เปลี่ยนตะวันออกกลางจากสภาพสังคมประเพณีดั้งเดิมไปสู่ความทันสมัย
เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่ชูธงทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาอย่างกล้าหาญ
ทฤษฎีของเขาได้รับการสนับสนุนโดยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของรอสตอฟ
(Rostow)
ที่เสนอในปี 1960 ว่า
ประเทศที่ด้อยพัฒนาจะเจริญเติบโตได้ก็ด้วยการทำให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม (industrialization)
มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะบินเหิน (take-off) ขึ้นไปสู่ความทันสมัยได้
หลังจากนั้นอีกสองปี เอเวอเร็ตต์ รอเจอร์ส (Everett
Rogers) ทุมเทงานวิจัยและเปิดฉากเสนอทฤษฎีสื่อสารนวัตกรรม (communication
of innovation) ไปทั่วโลก แนวความคิดของเขามีอิทธิพลเป็นอันมากต่อนักนิเทศศาสตร์ในประเทศที่กำลังพัฒนา
โดยเฉพาะแบบจำลองการยอมรับของชาวบ้าน (adoption process model of the
peasants) ที่ยังนำมาประยุกต์ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลูเซียนพาย (LudienPye) ในปีเดียวกันเขียนเรื่อง “บทบาทของทหารในประเทศกำลังพัฒนา”
แต่ที่ตอกย้ำความสำคัญของสื่อมวลชนในการพัฒนามากเป็นพิเศษจนพูดได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของนิเทศศาสตร์พัฒนาการที่แท้จริงก็คือหนังสือเรื่อง
“สื่อมวลชนกับการพัฒนาประเทศ” (1964) ของวิลเบอร์ชรามบ์
(Wilbur Schramm) นักสังคมวิทยาที่ต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิชาการสื่อสารมวลชนที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก
ทฤษฎีเหล่านี้มุ่งเสนอให้สื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง
ๆ โดยเฉพาะที่ยังล้าหลัง โดยมองเห็นว่า “การพัฒนาก็คือการทำให้ทันสมัย”
(เลอร์เนอร์) “การพัฒนาคือความมั่นคง”
(แม็คนามารา) “การพัฒนาคือเสรีภาพ” (ฌ็องมาเออ ผู้อำนวยการยูเนสโก) “การพัฒนาคือการปฏิวัติด้วยเสรีภาพ”
(เฮอร์เบิร์ต มาร์แชล รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ)
แต่ก็ถูกย้อนวิพากษ์ (reverse
criticism) ว่าการทำให้ทันสมัย (modernization) ก็คือการทำให้เป็นตะวันตก (westernization) ทำให้เป็นอเมริกัน
(Americanization) เป็นการหล่อหลอมโน้มน้าวให้เชื่อในลัทธินิยม
(modernism) เป็นเสรีภาพที่นำไปสู่ความเป็นทาสความคิดและวัฒนธรรมตะวันตก
3. การวิพากษ์ลัทธิสมัยนิยม (modernism)
เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิหลังสมัยนิยม (postmodernism) นักทฤษฎีแนววิพากษ์จำนวนมิใช่น้อยได้ทุ่มเทศึกษาวิจัยเพื่อโต้แย้งหรือตักเตือนให้ประเทศกำลังพัฒนายั้งคิดไตร่ตรองก่อนที่จะทุ่มตัวยอมรับลัทธิสมัยนิยมจากนักวิชาการชาวอเมริกัน
เฮอร์เบอร์ตมาค์คูเซ (Herbert
Marcuse) ได้วางรากฐานการวิพากษ์สังคมไว้ในหนังสือเรื่อง
มนุษย์มิติเดียว (One-dimensional Man) ซึ่งเสนอในปี 1964 ว่า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานความคิดและเครื่องมือสร้างความทันสมัย
ท้ายที่สุดก็ได้ลดระดับการพูดและการคิดของมนุษย์ให้เหลือเพียงมิติเดียว อาทิ
การรวบความจริงกับการปรากฏความจริงไว้ด้วยกัน
การรวบสิ่งของกับบทบาทหน้าที่ของมันไว้ด้วยกัน การรวบธนบัตรกับความสุขไว้ด้วยกัน
ทฤษฎีของเขาสร้างขึ้นตั้งแต่สอนอยู่ที่สาขาปรัชญาในมหาวิทยาลัยฟรังเฟิร์ต
ซึ่งรู้จักกันในนามของสำนักแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt School) มีส่วนเป็นชนวนให้นักศึกษาลุกฮือต่อต้านสถาบันทุนนิยม (capitalist
establishment) และสังคมบริโภค (society of consumption) ทั้งในปารีส และแคลิฟอร์เนีย ในปี 1968
ชื่อของเขาถูกกล่าอ้างว่าอยู่ในกลุ่มสามเอ็ม (3 M’s) ผู้ปฏิวัติสังคม
คือ Marx, Mao และ Marcuse
เฮอร์เบิร์ตชิลเลอร์ (Herbert
Schillet) แห่งมหาวิทยาลัยซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
เป็นผู้ผลักดันทฤษฎีวิพากษ์ออกไปสู่ทฤษฎีใหม่ที่อาจเรียกว่าลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสาร
(communication imperialism) โดยการเขียนเรื่อง
จักรวรรดิ์อเมริกันกับการสื่อสาร “American Empire and Communicaiton”
(1969) ตามมาด้วยหนังสืออีกหลายเล่มที่เป็นศูนย์รวมความคิดต่อต้าน “การรุกรานทางวัฒนธรรม” ของสหรัฐอเมริกา
ติดตามสนับสนุนด้วยงานวิจัยของ คาร์ล นอร์เด็นสเตร็ง (Karl Nordenstreng) ตาปิโอ วารีส (TapioVaris) จากประเทศฟินแลนด์ สมควร
กวียะ, บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา
จากประเทศไทยและนักคิดนักวิชาการอีกหลายคนจากตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ในช่วงทศวรรษ
1970
ในบทความเรื่อง “La
Morale des Objects” (วัตถุธรรม)
ตีพิมพ์ในวารสารนิทเทศศาสตร์ของฝรั่งเศส (1969) ฌ็อง
โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) มีส่วนริเริ่มอย่างสำคัญในการสถาปนาทฤษฎีการบริโภคสัญญะ
(consumption of signs) ที่ประสมประสานแนวคิดลัทธินิยมบริโภคของมาร์คูเซและลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสารของชิลเลอร์ทฤษฎีบริโภคสัญญะอธิบายว่า
ในประเทศที่มั่งคั่งฟุ่มเฟือย (Pays de Cocagne) ด้วยลัทธิบริโภค
มนุษย์มีความสุขความหวังของชีวิตอยู่ที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะทำให้เขาได้บริโภควัตถุอย่างฟุ่มเฟือย
แต่ในความเป็นจริงเขาต้องบริโภค “สัญญะของวัตถุ” ที่มาจากสื่อมวลชนด้วยและโดยทั่วไป “สัญญะ” ก็มักจะไม่ตรงกับ “วัตถุ” หรือผลิตภัณฑ์
ทฤษฎีที่วิพากษ์การบริโภคสัญญะ
วิเคราะห์ลัทธิบริโภคและวิจารณ์ลัทธิจักรวรรดินิยมทางการสื่อสาร
ได้ร่วมกันกระตุ้นเตือนอย่างรุนแรงให้โลกของนิเทศศาสตร์ผ่านจากยุคสมัยนิยม (modernism)
มาสู่ยุคหลังสมัยนิยม (postmodernism) ในทศวรรษ
1980
4. การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีกลายเป็นที่มาของวิชาการสื่อสารมวลชน
ย้อนกลับมาที่สหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นักคิดนักวิชาการไม่เพียงแต่จะได้เสนอแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาโลกที่สาม
(ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา) เท่านั้น
หากยังได้พยายามศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีการสื่อสารของตนเองให้เพิ่มพูนคุณค่าและประสิทธิภาพอยู่โดยตลอด
อาจเรียกรวมแนวคิดทฤษฎีเหล่านี้อยู่ในกลุ่มพัฒนาการสื่อสาร (communication
development) ซึ่งต่อมายูเนสโกก็ได้นำไปเป็นพื้นฐานในการตั้งโครงการนานาชาติ
เพื่อการพัฒนาการสื่อสาร (International Program for Communication
Development) และญี่ปุ่นก็ได้นำแนวคิดไปสร้างแผนพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศ
(Information Network System) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1985-2000 ทำให้ญี่ปุ่นก้าวเข้ามาสู่สภาพสังคมสื่อสาร (cybersociety) ในต้นศตวรรษที่ 21
ทฤษฎีที่สำคัญและเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคมสื่อสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
ไซเบอร์เนติกส์ (Cybernetics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสารและการควบคุมภายในสัตว์และในเครื่องจักร
ซึ่งนำเสนอโดยนอร์เบิร์ต วีเนอร์ (Norber Wiener) เมื่อปี 1948 แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของสารสนเทศในการเสริมสร้างและดำรงสังคมมนุษย์
โดยอาศัยกลไกการป้อนไปและป้อนกลับ (feedforward-feedback mechanism) ภายในระบบชีวิตและระบบสังคม ซึ่งถือว่ามีชีวิตเช่นเดียวกัน
ชีวิตและสังคมจะเจริญพัฒนาไปได้ก็โดยการพัฒนาระบบการสื่อสารที่สามารถถ่ายทอดแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปีเดียวกัน ฮาโรลด์ลาสเวลล์ (Harold
Lasswell) เสนอทฤษฎีบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน (functionalism)
เสนอให้เห็นชัดเจนเป็นครั้งแรกว่าบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน
คือการดำรงรักษาและบูรณาการสังคม (social integration) จึงจะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาสื่อมวลชนมิให้เกิดความล้มเหลว
(dysfunction) ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนคือ
การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อม การประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
และการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม
อีกทฤษฎีหนึ่งแม้ในตอนเริ่มต้นมิได้เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนโดยตรง
แต่ก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อมวลชน นั่นคือ ทฤษฎีสารสนเทศ (information
theory) ของ แชนนอน และวีเวอร์ (Shannon and Weaver) ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1949
เสนอเป็นแบบจำลองที่วิเคราะห์การถ่ายทอดสารนิเทศ
และแสดงให้เห็นการสื่อสารเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจากแหล่งสาร (source) เลือกสาร (message) ถ่ายทอดไป (transmitted) ในรูปแบบของสัญญาณ (signal) ผ่านช่องทางการสื่อสาร (channel)
ไปยังเครื่องรับ (receive) ซึ่งแปลงสัญญาณเป็นสารสำหรับจุดหมายปลายทาง
(destination) ในกระบวนการนี้อาจมีสิ่งรบกวนหรือแทรกแซง (noise
or interference) ซึ่งทำให้สารที่ส่งกับสารที่รับแตกต่างกันได้
แบบจำลองของทฤษฎีสารสนเทศนี้
มีส่วนเป็นแรงบันดาลใจให้ เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) พัฒนาไปเป็นแบบจำลองทางจิตวิทยาว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่รู้จักกันดีในนามของ
S
M C R (Source, Message, Channel, Receiver) พิมพ์ในหนังสือ ชื่อ “The Process of Communication” (กระบวนการสื่อสาร” ในปี 1960
แต่องค์ประกอบของกระบวนการการสื่อสารที่เสนอเพิ่มเติมอย่างมีความสำคัญจากทฤษฎีสารสนเทศของแชนนอน-วิเวอร์
ก็คือการเข้ารหัสและการถอดรหัส (encoding-decoding) ของผู้ส่งสารและผู้รับสารในแบบจำลองเชิงวงกลมของ
วิลเบอร์ ชรามม์ และ ชาร์ลส์ออสกูด (Wilbur Schramm and Charles osgood) ทำให้เห็นว่าการสื่อสารของมนุษย์และของสื่อมวลชนจะมีประสิทธิผลสูงก็ต่อเมื่อการเข้ารหัสถอดรหัสที่ดี
ผู้สื่อสารทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความรู้ความสามารถในการแปลสารสนเทศ (information)
เป็นสาร (messgae) และแปลงสารเป็นสารสนเทศได้ทั้งสองทิศทาง
ทฤษฎีอีกกลุ่มหนึ่งที่นำมาประยุกต์ใช้บ่อยครั้งในการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชนก็คือแนวคิดของแบบจำลองการใช้ประโยชน์และการไดรับความพึงพอใจ
(uses
and gratifications) โดยเฉพาะของเอลิฮูคัทซ์ (Elihu Katz) และคณะ (1974) ซึ่งเสนอว่า “การใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจของผู้รับสารมาจากการเปิดรับสารจากสื่อมวลชนที่เขาคาดหวังว่าจะให้สารสนเทศตามความต้องการ
อันเกิดจากสภาวะทางจิตใจและทางสังคม”
จากทฤษฎีนี้ทำให้เริ่มตระหนักว่าสื่อมวลชนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีการวิเคราะห์วิจัยให้รู้ความต้องการสารสนเทศของประชาชน
รวมทั้งสภาวะทางจิตใจและสังคมอันเป็นที่มาของความต้องการนั้นอยู่ตลอดเวลา
ทฤษฎีที่กล่าวข้างต้นมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสื่อสารมวลชน
ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่สำคัญที่สุดของสังคมสมัยใหม่ (modern
society) ในที่สุดก็ก่อให้เกิดศาสตร์ใหม่ที่ขยายตัวมาจากวารสารศาสตร์
เรียกว่า วิชาการสื่อสารมวลชน
สถาบันการศึกษาหลายแหล่งในสหรัฐอเมริกาได้ต่อเติมชื่อคณะหรือสถาบันวารสารศาสตร์
เรียกเป็น “วารสารศาสตร์และสื่อสารมวชชน”
(Journalism and Mass Communication) ซึ่งในประเทศไทยก็จะเห็นได้ชัดเจนจากกรณีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในช่วงทศวรรษ 1970 เช่นเดียวกัน
แต่สถาบันการศึกษาอีกส่วนหนึ่งก็ขยายขอบเขตหลักสูตรการศึกษาออกไปครอบคลุมวาทะวิทยา
และศิลปะการแสดง แล้วเรียกรวมว่านิเทศศาสตร์ (Communication Arts) ซึ่งต้องการให้หมายถึงทั้งศิลปะและศาสตร์ของการสื่อสาร (Art and
Science of Communication) ดังเช่นในกรณีของคณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้คำว่า “นิเทศศาสตร์” ยกเว้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งต้องเน้นความสำคัญของวิชาการที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน
ซึ่งถือว่าเป็นสื่อหลักของสังคมมวลชน
ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน
ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่ประมาณปี 1980 ถึงประมาณปี 1995 และช่วงที่สองประมาณปี 1990 จนถึงปัจจุบัน คือปี 2002
1. ในช่วงแรก
มีแนวโน้มการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารมาใน 2 ทิศทาง คือ
การวิพากษ์เชิงองค์รวม (holistic
approach criticism) ที่นำโลกการสื่อสารเข้าสู่ยุคหลังสมัยนิยม และ
การปฏิรูปแนวคิดและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารในสังคมใหม่
1.1 การวิพากษ์เชิงองค์รวม หมายถึง
การที่นักคิด นักวิจัย จากสาขาวิชาต่าง ๆ หันมาใช้ความคิดเชิงองค์รวม
วิเคราะห์และวิพากษ์การสื่อสารในระบบทุนนิยมเสรีของสังคมเศรษฐกิจการตลาด (liberal
capitalism in market economy)
ในเชิงเศรษฐกิจการเมือง
เกิดกลุ่มทฤษฎีการครอบงำกำหนด (determinism) ที่วิพากษ์ว่าเทคโนโลยีลัทธิสมัยนิยม
และลัทธิการแพร่กระจายของรอเจอร์ส (Rogers’s Diffusionism) มีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของประเทศ
(fatalism) เทคโนโลยีสร้างสื่อให้เป็นพระเจ้า (dei ex
machina) และ “เปิดโอกาสให้ชนชั้นนำมีอำนาจเหนือความรู้และการตัดสินใจของประชาชน”
ตามทัศนะของ ฌ็อง ฟร็องซัวส์ ลีโอตาร์ด (Jean Francois
Lyotard) ในหนังสือเรื่อง “La Condition Postmoderne” (1979)
มองลึกและกว้างไปในปรัชญาเชิงองค์รวม
ฌาคส์แดริดา (Jacques Derrida) และมิแชล ฟูโกลต์ (Michel
Foucault) สนับสนุนแนวคิดเชิงวิพากษ์ของลีโอตาร์ด
และเสริมต่อว่าในยุคสื่อหลากหลาย
รัฐบาลและชนชั้นนำยังได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคุมพฤติกรรมสังคมแบบตามจำลอง “กวาดดูโดยรอบ” (panopticon) ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและคุณค่าความเป็นมนุษย์ของประชาชน
ทั้งสามนักวิชาการจึงได้เสนอแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า ลัทธิหลังสมัยนิยม (postmodernism)
ถือว่าในสังคมใหม่
เอกชนต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างระบบสารสนเทศเสรี (free flow of
information) ทั้งในองค์กรและในสังคม
สมควร กวียะ เสนอแนวคิดไว้เมื่อปี 1986 ว่า มองในแง่อำนาจอิทธิพลของเทคโนโลยี เราอาจแบ่งประเทศในโลกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่กำหนดเทคโนโลยี
และกลุ่มประเทศที่ถูกกำหนดโดยเทคโนโลยี
กลุ่มแรกสร้างเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
กลุ่มที่สองถูกเทคโนโลยีจากกลุ่มแรกเข้ามากำหนดวิถีชีวิต
และระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ก่อให้เกิดความเสียเปรียบทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมวัฒนธรรม ประเทศจะต้องใช้เงินมหาศาล
เป็นต้นทุนของการทำเผื่อทำเกินอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น (redundancy
cost) รวมทั้งต้นทุนของการสูญเสียโอกาสในการผลิตเทคโนโลยีของตนเอง (opportunities
cost)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น