หลักการ
แนวคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม
เทคโนโลยี และสารสนเทศ
ทฤษฏีเกี่ยวกับนวัตกรรม
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล
และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามาระนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ
เช่นหากว่าเรามีข้อมูลตัวเลขต่างๆ และเมื่อนำตัวเลขเหล่านั้นไปทำการประมวลผลด้วยการ
บวก ลบ คูณ หาร แล้ว ออกมาเป็นข้อสรุปของจำนวนต่างๆ
นั้นก็ถือเป็นสารสรเทศด้วยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศนั้น
คือข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองแล้วก็เป็นได้
นวัตกรรมกระบวนการ หรือนวัตกรรมบริการ ซึ่งการสร้างนวัตกรรมต่างๆในองค์กรนั้น
อาจไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากผู้ที่ทำงานในระดับบริหาร หรือหัวหน้างาน
แต่นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวผู้ปฏิบัติเอง นั่นหมายความว่า
บุคลากรทุกคนในองค์กรล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
และมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาและก้าวหน้าต่อไปได้
ทั้งนี้การสร้างนวัตกรรมต่างๆ นอกจากจะส่งผลให้ขั้นตอนการทำงาน
หรือผลผลิตที่ได้มามีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว
การสร้างนวัตกรรมยังส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร
รวมไปถึงความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการอีกด้วย กล่าวคือ
หากผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงการปฏิบัติ
ซึ่งอาจรวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน ที่อาจยังไม่เหมาะสม
หรือไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่แล้วนั้น
องค์กรก็สามารถลดต้นทุนในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ผลผลิตหรือทรัพยากรที่สูญเสียไป
รวมทั้งความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการที่ได้รับสินค้าหรือบริการจากองค์กร นั่นเอง
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น
ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลขององค์การนั้นขึ้นกับความสามารถขององค์การในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์
แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ จากภายนอก และเรียนรู้จากประสบการณ์
และจากกันและกันภายในองค์การ
เพื่อให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้สามารถดำเนินงานและเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก ในภาษาลาติน
แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ
การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส
และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น
ผลงานโดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation)
เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม”
เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า
innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่
ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน
จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่านวัตกรรม เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของ "นวัตกรรม เทคโนโลยี
เทคโนโลยีสารสนเทศ" “นวัตกรรม เทคโนโลยี
ความหมาย คำว่า “นวัตกรรม” มีผู้ให้ความหมายที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย
“นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal)
ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม
ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan
edt01 .htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย
“นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง
วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ
ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ
ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น
นวัตกรรมไว้ดังนี้
จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้
โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย
หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
แนวคิดของนวัตกรรม
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง
ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
-การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
-แบบเรียนสำเร็จรูป
-เครื่องสอน
-การสอนเป็นคณะ
-การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
-มหาวิทยาลัยเปิด(OpenUniversity)
-แบบเรียนสำเร็จรูป(ProgrammedTextBook)
- การเรียนทางไปรษณีย์
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ
ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ
ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว
ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน
ในวงการศึกษาปัจจุบัน
มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน
อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว
แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป
ในวงการศึกษา
วิเคราะห์นวัตกรรม
นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง
คอมพิวเตอร์มัลติมิเดียเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนด้วยตนเองทางคอมพิวเตอร์
ดิฉันคิดว่าเหมาะกับเด็กไทยในบริเวณที่ระดับความเป็นอยู่ปานกลางขึ้นไปเนื่องจากจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา
ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วเด็กนักเรียนจะเลือกได้ว่าต้องการเรียนเรื่องอะไร
ทำให้เด็ก...
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending
Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition
Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ (Retention
Phase)
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
(Recall
Phase )
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization
Phase)
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance
Phase)
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback
Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
คือ
ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่
เร้าความสนใจ
มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ
กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
บอกวัตถุประสงค์
ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
กระตุ้นความจำผู้เรียน
สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน
เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน
โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน
โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ การยกตัวอย่าง
การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม
เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด
โดยมีคำแนะนำ การสอบ
เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี
เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ คือ
การศึกษาแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ความสำคัญของระบบสารสนเทศต่อธุรกิจ
และศึกษาองค์ประกอบของเทคโนโลยี สารสนเทศ เนื้อหาวิชาประกอบด้วย
บทบาทของระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ในองค์กร บทบาท หน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบ
ของระบบคอมพิวเตอร์หลักการจัดการข้อมูล หลักตรรกะในการเขียนชุดคำสั่ง
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปขั้นพื้นฐาน และการสื่อสารข้อมูล
ทฤษฎีสารสนเทศ
เป็นสาขาหนึ่งใน ทฤษฎีความน่าจะเป็น
และคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขอบข่ายเนื้อหาของทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ, เอนโทรปีของสารสนเทศ,ระบบการสื่อสาร, การส่งข้อมูล, ทฤษฎีอัตราการบิดเบือน, วิทยาการเข้ารหัสลับ, สัดส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน,
การบีบอัดข้อมูล, การแก้ความผิดพลาด
และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำแปลที่ตามราชบัณฑิต คือ
"ทฤษฎีสารสนเทศ" นี้ มาจากคำว่า“information theory" ซึ่งคำว่า information เป็นคำเดียวกันกับที่หมายถึง
สารสนเทศ แต่เนื่องจากความหมายของ information theory นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับ
เนื้อความในแง่ของสัญญาณ จึงอาจจะใช้คำว่า ทฤษฎีข้อมูล แทนความหมายของสารสนเทศ
ที่เป็นในแง่ของเนื้อหาข่าวสาร และ สื่อตัวกลาง หรือสื่อบันทึกในบางกรณี
ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information
Processing)
ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ความรู้ (acquire) สะสมความรู้ (store) การระลึกได้ (recall) ตลอดจนการใช้ข่าวสารข้อมูล หรือกล่าวได้ว่า เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายให้เข้าใจว่า
มนุษย์จะมีวิธีการรับข้อมูลข่าวสาร หรือความรู้ใหม่อย่างไร
เมื่อรับมาแล้วจะมีวิธีการประมวลข้อมูลข่าวสาร และเก็บสะสมไว้ในลักษณะใด
ตลอดจนจะสามารถดึงความรู้นั้นมาใช้ได้อย่างไร
ความเป็นมา
และแนวคิดของทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
ในระหว่างปี ค.ศ. 1950-1960
ทฤษฎีการเรียนรู้ส่วนใหญ่มักจะเป็นการทดลองที่ให้หนูวิ่งในเขาวงกต
ซึ่งนักจิตวิทยาหลายท่านมองเห็นว่าการทดลองดังกล่าวไม่สามารถที่จะช่วยในการอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ยุ่งยากซับซ้อนของมนุษย์ได้
นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งของพุทธิปัญญามองว่าการเรียนรู้
เป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณความรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านปริมาณ
และวิธีการประมวลสารสนเทศ แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information
Processing Theory) ทฤษฎีนี้ให้ความสนใจกับธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่active
(มีความให้ความสนใจกับธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นผู้ที่ active
มีความตื่นตัวในการเรียน)
นักทฤษฎีประมวลสารสนเทศมุ่งเน้นที่จะศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
เจริญเติบโตขึ้น
1. ความใส่ใจ (attention)
2. กลยุทธ์การเรียนรู้ (learning
strategies)
3. พื้นฐานความรู้ (knowledge base)
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง (metacognition)
จากองค์ประกอบข้างต้น
จะพบว่าความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง (metacognition) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีนี้ เพราะเหตุผลที่ว่า
การทำงานของระบบต่างๆในการประมวลสารสนเทศ เช่น ความใส่ใจ การลงรหัสข้อมูล
การสะสมข้อมูล ตลอดจนการดึงข้อมูลมาใช้นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการรู้คิดของตนเอง (metacognition) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้
ดังนั้น ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ (Information
Processing) มุ่งเน้นที่จะศึกษา กระบวนการคิด
ลำดับขั้นของการประมวลข่าวสาร และการเรียกความรู้ต่างๆ(retrieve) จากความจำระยะยาวมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังขั้นตอนการประมวลสารสนเทศของมนุษย์ ของ คลอสไมเออร์ (Klausmeier,
H.J.1985)ได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. การบันทึกผัสสะ (Sensory
register)
2. ความจำระยะสั้น (Short-term
Memory)
3. ความจำระยะยาว (Long-term Memory)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual
Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง
ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน
ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก
และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้
นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา
ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี
ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ
ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง
ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ
ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคม ประการที่สาม
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว
โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
ประการที่สี่
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส
และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก
เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น
อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4
ประการ คือ
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
แผนการศึกษาของชาติ
มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจและความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (Team
Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร
ก็ดูเหมือนจะทำนายกันได้ยากเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ดียังมีวิธีการที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการใช้
เทคนิค เดลฟาย (Delphi technique) ที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง
ๆ ที่มีประสบการณ์ ที่กว้างขวางและช่ำชองเป็นเยี่ยม
ผลการทำนายอนาคตหรือหาแนวโน้มจึงจะถูกต้องแม่นยำ
ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมากล่าวไว้อย่างน่าฟังต่าง ๆ นานา
เช่นกัน.....บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเวลาเกือบ
30 ปี และได้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จากวารสารและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ
จึงขอแสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษาช่วงระยะปี 2539
- 2549 ไว้ดังนี้คือ
1. ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน (Learning
resources center) สำหรับการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจะมีแนวโน้มร่วมมือร่วงมือกันจัดตั้งเป็นศูนย์กลางใช้ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียน
และเป็นการบริการที่สะดวกสบาย
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมีสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมากพอเพียงกับความต้องการ
ส่วนสื่อพื้นฐาน เช่น กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายต่าง ๆ ฯลฯ
ก็จะมีประจำอยู่ในห้องเรียนแล้ว ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็จะมีสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อและให้บริการกับทุกหน่วยงานในสถาบัน
ตลอดจนทำการวิจัยและพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
2. ชุดสื่อการสอน (Media package) นักเทคโนโลยีการศึกษาจะผลิตสื่อออกมาเป็นชุดสำเร็จรูปเพื่อสนองตอบความต้องการของครู
โดยเน้นเนื้อหาที่ครูส่วนมากสอนนักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบด้วย
คำแนะนำในการใช้ประกอบการสอนตัวสื่อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบตัวสื่อก็จะเป็นลักษณะ
สื่อประสม (Multimedia)
3. การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน (Improved
media equiment) จะมีลักษณะพัฒนาเครื่องมือหลาย ๆ
อย่างให้อยู่ในเครื่องมือเดียวกัน เป็นลักษณะเอนกประสงค์ที่มีเครื่องมือชิ้นเดียว
แต่ใช้ได้หลายหน้าที่ เช่น เป็นทั้งเครื่องฉายสไลด์และเครื่องฉายภาพโปร่งใส
เป็นต้น
4. ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ (Increase
utilizing computer) โดยจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบการสอน
มีการผลิตโปรแกรม CAI มากวิชาและมากเนื้อหา
เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้นำไปใช้ โดยเฉพาะจะทำเป็นลักษณะ Multimedia นอกจากนี้ในสถาบันการศึกษายังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้นที่เรียกว่า
CMI (Computermanagementinstruction )เพื่อความรวดเร็วในการใช้ข้อมูล
5. การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local
medias production) การผลิตสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งจะมีความริเริ่มทั้งรูปแบบวัสดุและเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการสอน
6. การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing
media) โดยเฉพาะตำราเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านเนื้อหาวิชาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
ลักษณะรูปเล่มและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือจะเปลี่ยนไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักเรียน
จนในที่สุดจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books)
7. การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในและนอกประเทศจะมีมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา
ได้ติดต่อใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายและด้วยความก้าวหน้าทาง IT
(Information Technology)ก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลสะดวกรวดเร็วและมีประมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
8. สื่อประเภทรายบุคคล (Individual
media) เนื่องจากการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
ฉะนั้นโอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าชั้นเรียนจึงน้อยลง
ทำให้ทุกคนต้องเรียนด้วยตนเองเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน ฉะนั้นสื่อประเภทนี้
จึงต้องมีความสมบูรณ์ในตัวที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เอง ซึ่งสะดวกต่อการพกพาไปได้
มีขนาดกะทัดรัด ใช้ง่าย และจูงใจให้ใช้ อาจจะอยู่ในรูปหนังสือโปรแกรม
เทปเสียงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆแหล่ง
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1. การเรียนการสอนในระบบ.....การสอนในระบบ (formal
education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ
ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจนนักเรียน
นักศึกษาต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ
โดยครูจะนำเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
2. สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ.....การสอนนอกระบบ
(informal education) หมายถึง
การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ
คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม
หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย
การเรียนการสอนประเภทนี้
ผู้สร้างหลักสูตรจำเป็นต้องคัดเลือกเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
ไม่ว่าจะเป็นสื่ออุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
วิทยุเพื่อการศึกษา สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ครู หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบ จะกำหนดขึ้น
3. สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การสอนตามอัธยาศัย (nonformal
education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง
แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้
เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้
โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
.....1.
ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจากพระราชบัญญัติการศึกษา ปี พ.ศ.
2542 ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน
และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา
ซึ่งแน่นอนการนำเทคโนโลยีการศึกษาย่อมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้
น่าจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะผูกติดกับพระราชบัญญัติการคึกษา
และนับวันจะมีบทบาทยิ่งขึ้น
ดังจะพบว่าพระราชบัญญัติการศึกษาให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยีการศึกษา
โดยกำหนดไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาระบุไว้ 7 มาตรา ดังนี้
.....มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่
สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น
เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
.....มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต
และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัด พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต
จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต
และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้
โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
.....มาตรา 65
ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
.....มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา
การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
.....มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน
เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน
และผลกำไร ที่ได้จากการดำเนินกิจการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กร ประชาคม
รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต
การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามกำหนดในกฎกระทรวง
.....มาตรา 69
รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม
และประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ
และประสิทธิภาพของการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางต่อการเรียนการสอนในปัจจุบันและจะมีบทบาทต่อการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นในอนาคตก็คือ
การนำระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการเรียนการสอน
เมื่อไม่นานมานี้ครูได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวในห้องเรียน
แต่ปัจจุบันเรามีการสอนโดยใช้โทรทัศน์ หรือวิทยุกระจายเสียง ระบบไมโครเวฟ (Microwave)
ระบบดาวเทียมและระบบวงจรปิด เช่น
โทรทัศน์วงจรปิดหรือโทรศัพท์มาใช้ประกอบ หรือใช้เป็นสื่อแทนครู
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4
ประการ คือ
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล แผนการศึกษาของชาติ
มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจและความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (Team
Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป-
ชุดการเรียน
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1.
การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน
ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
2.
การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย
ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้
แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’
ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง
จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ
อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
มีผู้กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง
เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก
แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ
ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี
เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้
และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย
และสูญค่าคุณประโยชน์ มีความคาดหวังว่า
เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยียนสถานศึกษาใดในอนาคต
ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี
และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร
ก็ดูเหมือนจะทำนายกันได้ยากเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ดียังมีวิธีการที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการใช้
เทคนิค เดลฟาย (Delphi technique) ที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง
ๆ ที่มีประสบการณ์ ที่กว้างขวางและช่ำชองเป็นเยี่ยม
ผลการทำนายอนาคตหรือหาแนวโน้มจึงจะถูกต้องแม่นยำ
ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมากล่าวไว้อย่างน่าฟังต่าง ๆ นานา
เช่นกัน.....บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเวลาเกือบ
30 ปี และได้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จากวารสารและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ
จึงขอแสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษา
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
-รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน
-ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
-มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่
สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
-ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง
ทันสมัยอยู่เสมอ
-ประโยชน์ที่ได้จากระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหารงานในองค์กร
คือ
-เพื่อการวางแผน
กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร
-สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
-ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร
-ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว
ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ
-ใช้ควบคุมระบบการทำงานในองค์กรให้ดำเนินไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
-องค์กรมีมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน
ทำให้ได้รับความเชื่อถือ-สร้างโอกาสในการลงทุน
ทำให้มีการขยายองค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น
-สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้
แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ในด้านการเมือง การปกครอง สังคม สาธารณสุข คมนาคม และความมั่นคงปลอดภัย
มีความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Leaning
การจัดทำสื่อการศึกษาแหล่งสารสนเทศ และใช้ในการบริหารการศึกษาจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม
(Behaviorism) 2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทอนไดค์ (Thorndike)
เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect) 2. กฎแห่งการฝึกหัด
(Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness)
หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี 4.การจัดระเบียบประสบการณ์
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ 6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน 8.ความชัดเจน
9.การถ่ายโยงที่ดี 10.การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
ทฤษฎีการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวคิด
1.
กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดรุ่นแรกที่เสนอแนวคิดหลักที่เน้นหนักเกี่ยวกับประเภท องค์ประกอบและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎีสารสนเทศ
และทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสาร
2.
ทฤษฎีที่เชื่อว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวกำหนดหรือชี้นำสังคม
ตลอดจนวัฒนธรรม
3.
กลุ่มนักคิดทฤษฎีที่เชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ต่างเห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงกลไกหรือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ ของสังคมตามที่มนุษย์ต้องการ
4.
กลุ่มทฤษฎีบูรณาการที่สำคัญ ได้แก่ ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม
ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสื่อ และทฤษฎีการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศ
กลุ่มทฤษฎีสารสนเทศ (Information Theories) ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
และเป็นกลุ่มนักคิดรุ่นแรกที่เริ่มเสนอแนวคิดหลักที่เน้นหนักเกี่ยวกับประเภท องค์ประกอบ
และศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เช่น องค์ประกอบ การพัฒนาการ
รูปลักษณ์ ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ หรือศักยภาพที่เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ๆ
สามารถทำได้
ประเด็นสำคัญของกลุ่มทฤษฎีกลุ่มนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีหลัก
ๆ คือ ทฤษฎีสารสนเทศ (The Information Theory) และทฤษฎีระบบข้อมู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น